Tuesday, December 30, 2008

นโยบายการศึกษารัฐบาลอภิสิทธิ์ แถลงเมื่อ 30 ธันวาคม 2551

 
นโยบายการศึกษา

3.1.1 ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยปฏิรูปโครงสร้างและการบริหารจัดการ ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และระดมทรัพยากรเพื่อการปรับปรุงการบริหารจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา พัฒนาครู พัฒนาระบบการคัดเลือกเข้าสู่มหาวิทยาลัย พัฒนาหลักสูตร รวมทั้งปรับหลักสูตรวิชาแกนหลักรวมถึงวิชาประวัติศาสตร์ ปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน พัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์ ปรับบทบาทการศึกษานอกโรงเรียนเป็นสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต และจัดให้มีศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมในแต่ละ พื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมการกระจายอำนาจให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อ นำไปสู่เป้าหมายคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นคุณธรรมนำความรู้ อย่างแท้จริง
3.1.2 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นในระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เพื่อให้สนองตอบความต้องการด้านบุคลากรของภาคเศรษฐกิจ
3.1.3 พัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ได้ครูดี ครูเก่ง มีคุณธรรม มีคุณภาพ และมีวิทยฐานะสูงขึ้น ลดภาระงานครูที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนตามโครงการคืนครูให้นักเรียน มีการดูแลคุณภาพชีวิตของครูด้วยการปรับโครงสร้างหนี้และจัดตั้งกองทุนพัฒนา คุณภาพชีวิตครู ควบคู่ไปกับการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เน้นการพัฒนาเนื้อหาสาระและ บุคลากรให้พร้อมรองรับและใช้ประโยชน์จากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างคุ้ม ค่า
3.1.4 จัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี ตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้เกิดความเสมอภาคและความเป็น ธรรมในโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทั้งผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ผู้บกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา และชนต่างวัฒนธรรม รวมทั้งยกระดับการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กในชุมชน
3.1.5 ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศ โดยการจัดกลุ่มสถาบันการศึกษาตามศักยภาพ ปรับเงินเดือนค่าตอบแทนของผู้สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาให้สูงขึ้น โดยภาครัฐเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างของการใช้ทักษะอาชีวศึกษาเป็นเกณฑ์กำหนด ค่าตอบแทนและความก้าวหน้าในงาน ควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้วยการเพิ่มขีดความสามารถด้านการ วิจัยและพัฒนา
3.1.6 ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้มีการประนอมและไกล่เกลี่ยหนี้ รวมทั้งขยายกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสใน การเข้าถึงการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและปริญญาตรีเพิ่มขึ้น
3.1.7 ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาด เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้
3.1.8 เร่งรัดการลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้อย่างบูรณาการในทุกระดับการศึกษา และในชุมชน โดยใช้พื้นที่และโรงเรียนเป็นฐานในการบูรณาการทุกมิติ และยึดเกณฑ์การประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา เป็นหลักในการยกระดับคุณภาพโรงเรียนที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และส่งเสริมความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาและ วิจัยพัฒนาในภูมิภาค รวมทั้งเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตในชุมชน โดยเชื่อมโยงบทบาทสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบันทางศาสนา
..............................................................................................................................................
เชิญทดลองสอบชุดโต้ตอบ  พลวัต 40  รวมมิตรปีฉลู-วัวคะนอง   ในเวบครูคลับ ครับ 

Saturday, December 27, 2008

เตรียมสอบภาค ก ครั้งที่ 2 ชมรมพัฒนาครูไทย ที่จังหวัดลพบุรี

อบรมสัมมนาเพื่อเตรียมสอบ ภาค ก  ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดลพบุรี  ในวันที่ 17 - 18 มกราคม  2552  
1.การบริหารวิชาการ
2.การบริหารทั่วไป
3.การบริหารงบประมาณ
4.การบริหารบุคคล
5. สมรรถนะ ผู้บริหารทั้ง 4 ด้าน 

สนใจติดต่อ ผอ.โจ้ และ ผอ.ยุทธพงษ์ชัย(เ บอร์โ ทร ดูในเวบของทั้งสองท่านตามลิงค์ในเวบครูคลับครับ)

---------------------------------------------------------------------
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต 1 และ เขต 2  รับสมัครสอบคัดเลือกผู้อำนวยการสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษ 
เขต 1  ประกาศรับสมัครวันที่ 5-9 มกราคม 2552  สอบวันที่ 17 มกราคม และประกาศผล 20 มกราคม 2552
           ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 8 ตำแหน่ง  ขึ้นบัญชี 1 ปี 
เขต 2 ประกาศรับสมัครวันที่ 12-16 มกราคม 2552 สอบวันที่ 31 มกราคม และประกาศผล 31 มกราคม 2552
           ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 9 ตำแหน่ง  รองผู้อำนวยการสถานศึกษา 13 ตำแหน่ง
    เ ฉ พ า ะ เขต 2 ผู้ได้รับการคัดเลือกและผ่านการพัฒนาก่อนแต่งตั้งแล้ว  มีนโยบายสอบเสร็จและบรรจุแต่งตั้งทันที แ ละขึ้นบัญชีไว้ 2 ปี (แต่คาดว่าไม่ถึง 1 ปี จะหมดบัญชี)

Wednesday, December 24, 2008

รายชื่อผู้เข้าสอบคัดเลือกผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

สอบวันที่ 10 มกราคม 2552 ที่โรงเรียนหอวัง กรุงเทพมหานคร

ตามลิงค์ นี้ ครับ

http://www.moe.go.th/webtcs/news51/exam2551.pdf



คัดเลือกไว้ 200 ท่าน อบรมแต่งตั้ง 18 ท่านแรก หลังจากนั้นอีก 4 ท่าน ขึ้นบัญชีไว้ 1 ปี

Monday, December 22, 2008

เชิญทดลองสอบออนไลน์พลวัตในเวบครูคลับ

ข้อทดลองสอบออนไลน์พลวัต 38 มีทั้งหมด 31 ข้อใช้เวลาทำทั้งหมด 30 นาที แบบทดสอบจะแสดงสถิติผลการทำแบบทดสอบของท่าน 
วิธีทำโดยละเอียด
1.ใส่ชื่อ(ชื่อจริงหรือชื่อเล่นหรือนามปากกา)ในช่อง Your name
2.เริ่มทำแบบทดสอบโดยคลิ๊กคำว่า Start Quiz
3.แบบทดสอบจะปรากฎขึ้นให้ท่านเลือกคำตอบที่ถูกเพียงข้อเดียวโดยคลิ๊กที่ปุ่มหน้าตัวเลือก
4.ถ้าตอบถูกจะปรากฎคำว่า Correct ตอบผิดจะปรากฎคำว่า    Incorect
5.เมื่อทำเสร็จจะปรากฎค่าสถิติต่างๆ  ของคะแนนท่าน หากท่านได้คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 85 ขึ้นไปจะมีวุฒิบัตรปรากฏให้(ชมเล่นๆ)หรืออาจปริ๊นท์ไว้ดูก็ได้
6.ข้อสอบชุดนี้ถูกตั้งค่าให้ผ่านร้อยละ 65 เท่านั้น
7.หากต้องการกลับไปดูคะแนนตนเองคลิ๊กที่คำว่า Disscus หรือทำใ หม่ตรงคำว่า Tryagain
8.ท่านสามารถแสดงความคิดเห็นได้ครับตรง Comment เมื่อทำแบบทดสอบเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว

........................เชิญครับ.................ในเวบไซท์ ครูคลับ เมนูทดลองสอบ
                    

Wednesday, December 17, 2008

ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
1. ความมุ่งหมาย
- เพื่อให้นักเรียนมีระบบคุณภาพในการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนให้เป็นไปอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยมีฝ่ายกิจการนักเรียน งานแนะแนว งานส่งเสริมสุขภาพ งานระเบียบวินัย งานป้องกันสารเสพติด งานระดับชั้นและมีทีมครูที่ปรึกษาที่มีความรู้ มีทักษะ เจตคติในการดูแลช่วยเหลือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนทุกคนมีทักษะชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่น อย่างมีความสุข สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
- เพื่อให้โรงเรียน ผู้ปกครอง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และชุมชน มีการทำงานร่วมกันโดยผ่านกระบวนการที่มีระบบ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานการปฏิบัติงาน สามารถตรวจสอบติดตามและประเมินได้

2. ขอบข่าย
เป็นระบบที่เน้นกระบวนการ วิธีการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีขั้นตอน พร้อมด้วยเครื่องมือการทำงานที่ชัดเจน โดยมีฝ่ายกิจการนักเรียน งานแนะแนว งานส่งเสริมสุขภาพ งานระเบียบวินัย งานป้องกันสารเสพติด งานระดับชั้นและคณะครูที่ปรึกษา เป็นบุคลากรหลักในการดำเนินการส่งเสริม ดูแลช่วยเหลือนักเรียนในด้านต่าง ๆ ภายในโรงเรียน และประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง และองค์กรภายนอก

3. คำจำกัดความ
- การดูแลช่วยเหลือ หมายถึง การส่งเสริม การป้องกันและการช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา โดยวิธีการและเครื่องมือสำหรับครูที่ปรึกษา บุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินงานพัฒนานักเรียน โดยเน้นให้นักเรียนเป็นคนดี คนเก่ง ปลอดภัยจากสารเสพติด และมีความสุขในการดำรงชีวิต
- เกณฑ์การคัดกรอง เป็นการนำเสนอข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ มากำหนดร่วมกันเพื่อการตัดสินใจการส่งเสริม หรือให้การช่วยเหลือ
- กลุ่มเสี่ยง / มีปัญหา นักเรียนที่มีปัญหาด้านความสามารถ ด้านสุขภาพ ด้านครอบครัวและด้านอื่น ๆ ตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด
- การส่งต่อ การส่งนักเรียนที่มีปัญหา ที่ครูช่วยเหลือแล้ว นักเรียนไม่ดีขึ้น และยากต่อการช่วยเหลือ
จึงดำเนินการส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่อไป
- การส่งต่อภายใน ครูที่ปรึกษาส่งต่อไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องภายในโรงเรียน โดยพิจารณาจากปัญหาของนักเรียน เช่น ครูแนะแนว ครูพยาบาล ครูโภชนาการ ครูประจำวิชา หรือฝ่ายกิจการนักเรียน เป็นต้น
- การส่งต่อภายนอก ผู้ที่เกี่ยวข้องภายในโรงเรียนดำเนินการส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในกรณีที่นักเรียนมีปัญหา ยากต่อการช่วยเหลือ
4. เอกสารหลักฐาน
- ระเบียนสะสม (ป.พ. 8)
- บันทึกการเยี่ยมบ้านนักเรียน
- แบบประเมินพฤติกรรมนักเรียน (SDQ)
- แบบสรุปผลการคัดกรองนักเรียน
- แบบบันทึกกิจกรรมโฮมรูม
- สรุปประเมินความพึงพอใจของนักเรียนในการรับการช่วยเหลือ
- สรุปประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
และการจัดกิจกรรมประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน(Classroom meeting)
5.สรุปขั้นตอนการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
5.1 การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยการเยี่ยมบ้านนักเรียน และสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล
5.2 การคัดกรองนักเรียน โดยคัดกรองนักเรียน 2 ประเภท คือนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มปกติ โดยจัดทำแบบประเมินนักเรียน(SDQ) 3 ฉบับ ฉบับนักเรียน ฉบับผู้ปกครองและฉบับครู
5.3 การส่งเสริมนักเรียน จัดกิจกรรมต่างๆเพื่อให้ความรู้และส่งเสริมทักษะให้กับนักเรียน โดยกำหนดเป็นแผนกิจกรรมประจำปีและให้นักเรียนเป็นผู้ดำเนินการ มีครูเป็นที่ปรึกษา
5.4 ป้องกันและแก้ไขปัญหา โรงเรียนกำหนดมาตรการเฝ้าระวัง กำหนดระเบียบ การให้คะแนนความประพฤติ เชิญวิทยากรภายนอกให้ความรู้ จัดบุคลากรสอดส่องตามชุมชน การตรวจสุขภาพ
5.5 การส่งต่อ เฉพาะนักเรียนที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมทั้งการส่งต่อภายในโรงเรียนและนอกโรงเรียน เช่นผู้เชี่ยวชาญ ร่วมมือกับผู้ปกครอง ติดตามอย่างใกล้ชิดจนแก้ปัญหาได้

6.ทีมระดับโรงเรียน
ทีมนำ คือ ผู้อำนวยการ,รองผู้อำนวยการโรงเรียน
ทีมประสาน คือ หัวหน้าคณะ หัวหน้าระดับ หัวหน้างานที่เกี่ยวข้อง
ทีมทำ คือ ครูประจำชั้น ครูที่ปรึกษา
7.ปัจจัยเอื้อ(Enable)
7.1 ความตระหนักของครู
7.2 การสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานร่วมกัน
7.3 ความศรัทธาของผู้ปกครองที่มีต่อโรงเรียน

ทิศทางนโยบายการศึกษารัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

เด็กไทยทุกคนจะได้เรียนฟรีจริงตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงมัธยม 6 อย่างมีคุณภาพ
วิธีปฏิบัติ 1. จัดสรรงบประมาณให้จังหวัด/โรงเรียน เพื่อทำการจัดซื้อตามงบประมาณต่อหน่วยที่กำหนด ให้สามารถจัดซื้อและมอบให้นักเรียนได้เมื่อเปิดเทอมการศึกษาใหม่ของปี
1.1 นม 6 บาท/กล่อง จำนวน 230 วัน (ในช่วงปิดเทอม 30 วัน)
1.2 อาหารกลางวัน 400 บาท/คน จำนวน 200 วัน
1.3 เครื่องแบบนักเรียนคนละ 2 ชุด/ปี - ประถมชุดละ 180 บาท - มัธยมต้นชุดละ 225 บาท - มัธยมปลายชุดละ 250 บาท
1.4 ตำราเรียนฟรี (ระบบยืมเรียนสำหรับตำราและให้ฟรีสำหรับแบบฝึกหัด) - ประถม 300 บาท/คน/ปี - มัธยมต้น 325 บาท/คน/ปี - มัธยมปลาย 375 บาท/คน/ปี
2.ออกข้อบังคับห้ามโรงเรียนเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากนักเรียนและแจ้งให้ผู้ปกครองทราบถึงนโยบายเรียนฟรีจริง เมื่อจบการศึกษาแล้วต้องทำงานเป็น สร้างงานได้ มีงานทำ
วิธีปฏิบัติ
2.1ร่วมกับภาคเอกชนปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับตลาดงานจริง
2.2จัดให้มีการฝึกงานภาคฤดูร้อน เพื่อการพัฒนาทักษะและทัศนคติของนักศึกษาให้พร้อมทำงาน
2.3 โรงเรียน/มหาวิทยาลัย จัดตั้งหน่วยงานช่วยจัดหางานให้แก่นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาและให้ถือการมี งานทำเป็นดัชนีชี้วัดความสำเร็จของการศึกษาไม่ใช่เพียงการเรียนสำเร็จตาม หลักสูตรและได้รับวุฒิบัตรหรือปริญญาบัตร 4.จัดระบบการทดสอบระดับ ฝีมือ/ทักษะ ด้านอาชีวศึกษาให้กระจายทั่วประเทศ เพื่อออกประกาศนียบัตรรับรองระดับฝีมือ/ทักษะ เพื่อเป็นฐานการกำหนดค่าตอบแทน งบประมาณ ใช้งบประมาณที่ได้รับจัดสรรปกติ
ที่มา-หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 17 ธันวาคม 2551

Monday, December 15, 2008

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข่าวสารที่ได้จากการนำ ข้อมูลดิบ (raw data) มาคำนวณทางสถิติหรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที
ในส่วนของ เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หมายถึงกระบวนการต่างๆ และระบบงานที่ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการโดยจะรวมถึง
1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์คมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟต์แวร์ทั้งระบบสำเร็จรูปและพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะด้าน
2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน รวบรวมข้อมูล จัดเก็บประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เทคโนโลยีของระบบสารสนเทศในปัจจุบัน ประกอบด้วย
§ ระบบประมวลผลข้อมูล (DP: Data Processing System)
§ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (MIS: Management Information System)
§ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS: Decision Support System)
§ ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (EIS: Executive Information System)
§ ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES: Expert Systems)
สารสนเทศกับการตัดสินใจ
ในองค์การต่าง ๆ นั้น สามารถแบ่งการทำงานได้เป็น 4 ระดับด้วยกันคือ ระดับวางแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว (strategic planning) ระดับวางแผนการบริหาร (tactical planning) ระดับวางแผนปฏิบัตการ (operation planning) และ ระดับผู้ปฏิบัติการ (clerical) โดยใน 3 ระดับแรกนั้นจะจัดอยู่ใน ระดับบริหาร (Management) และระดับสุดท้ายจัดอยู่ใน ระดับปฏฺบัติการ (Operation)
ระบบสารสนเทศจะทำการเก็บรวมรวบข้อมูลจากระดับปฏิบัติการ และทำการประมวลผลเพื่อให้สารสนเทศกับบุคลากรในระดับต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละระดับนั้นจะใช้ลักษณะและปริมาณของสารสนเทศที่แตกต่างไป บุคลากรในแต่ละระดับจะเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศดังนี้
o ระดับปฏิบัติการ
บุคลากรในระดับนี้เกี่ยวข้องอยู่กับงานที่ทำซ้ำ ๆ กัน และจะเน้นไปที่การจัดการรายการประจำวัน นั้นคือบุคลากรในระดับนี้เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศในฐานะผู้จัดหาข้อมูลเข้าสู่ระบบ ตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่ผู้ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลการสั่งซื้อของลูกค้าเข้าสู่คอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศเพื่อการขาย หรือตัวแทนการจองตั๋วและขายตั๋วในระบบจองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
o ระดับวางแผนปฏิบัติการ
บุคคลในระดับนี้ จะเป็นผู้บริหารขั้นต้นที่ทำหน้าที่ควบคุมการปฏิงานประจำวัน และการวางแผนปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระยะเวลาสั้น ๆ เช่น แผนงานประจำวัน ประจำสัปดาห์ หรือประจำไตรมาส ข้อมูลที่ผู้บริหารระดับนี้ต้องการส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับผลการปฏิบัติในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ผู้จัดการแนกจายตรงอาจต้องการรายงานสรุปผลการขายประจำไตรมาสของพนักงานขาย เพื่อประเมินผลของพนักงานขายแต่ละคน เป็นต้น
o ระดับวางแผนการบริหาร
บุคลากรในระดับนี้ จะเป็นผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งทำหนาที่วางแผนให้บรรลุเป้าหมายต่างๆ เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จตามแผนงานระยะยาวตามที่กำหนดโดยผู้บริหารระดับสูง มักจะเป็นสารสนเทศตามคาบเวลาซึ่งมีระยะเวลานานกว่าผู้บริหารขั้นต้น และจะเป็นสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร เช่น ของคู่แข่งหรือของตลาดโดยรวม เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้บริหารระดับนี้ยังต้องการระบบที่ให้รายงานการวิเคราะห์แบบ ถ้า-แล้ว (What - IF) นั่นคือสามารถทดสอบได้ว่าหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้แล้ว ตัวเลขหรือสารสนเทศต่างๆ จะเปลี่ยนเป็นเช่นไร เพื่อให้จำลองสถานการณ์ต่างๆที่ต้องการได้ ตัวอย่างเช่น ผู้จัดการฝ่ายขายอาจต้องการทาบผลการขายประจำปีของบริษัทเทียบคู่แข่งต่าง ๆ รวมทั้งอาจต้องการทดสอบว่าถ้าเพิ่มหรือลดลงโฆษณาในสื่อต่าง ๆ จะมีผลกระทบต่อยอดขายอย่างไรบ้าง
o ระดับวางแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว
ผู้บริหารระดับนี้จะเป็นระดับสูงสุด ซึ่งเน้นในเรื่องเป้าประสงค์ขององค์กร ระบบสารสนเทศที่ต้องการจะเน้นที่รายงานสรุป รายงานแบบ What-if และการวิเคราะห์แนวโน้มต่างๆ (trand analysis) ตัวอย่างเช่น ประธานบริษัทอาจต้องการรายงานที่แสดงแนวโน้มการขายในอีก 4 ปีข้างหน้าของผลิตภัณฑ์ 3 ชนิดของบริษัท เพื่อดูแนวโน้มในการเติบโตของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ว่า ผลิตภัณฑ์ใดจะมีแนวโน้มที่มีกว่า หรือผลิตภัณฑ์ใดที่อาจสร้างปัญหาให้บริษัทได้ เป็นต้น
ระบบประมวลผลข้อมูล
ระบบประมวลผลข้อมูล (Data processing System หรือ DP) หรือบางครั้งเรียกว่า ระบบประมวลผลรายการประจำ (Transaction Processing System หรือ TPS) หรือระบบประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing หรือ EDP) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดข้อมูลขั้นพื้นฐาน โดยเน้นที่การประมวลผลรายการประจำวัน (transaction) และการเก็บรักษาข้อมูล
ระบบประมวลผลข้อมูลมักจะทำงานอยู่เฉพาะส่งนหนึ่งส่วนใดของธุรกิจเท่านั้น เช่นฝ่ายการเงินและบัญชี ฝ่ายผลิต ฝ่ายการตลาด เป็นต้น โดยแต่ละฝ่ายจะมีการประมวลผลที่แยกจากกัน ข้อมูลจะถูกป้อนและจัดเก็บอยู่ในรูปของไฟล์ และไฟล์ต่างๆ จะถูกแก้ไขระหว่างการประมวลผลรายการประจำวัน จากนั้นผลลัพธ์จะถูกแสดงออกมาตามคาบเวลาที่กำหนด เช่น ใบส่งของ หรือรายงานประจำเดือน เป็นต้น
ระบบประมวลผลข้อมูลมักจะถูกใช้งานได้ถึงระดับของผู้บริหารระดับปฎิบัติการ (operational management) เท่านั้น เนื่องจากระบบชนิดนี้จะไม่ยืดหยุ่น และไม่สามารถสนองความต้องการข้อมูลหรือสารสนเทศที่ไม่ได้จัดเเก็บอยู่ในระบบได้ อย่างไรก็ดี ข้อมูลในระบบประมวลผลข้อมูลจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับนำไปประมวลผลในระบบระดับสูงอื่นๆ ซึ่งมีความยืดหยุ่นพอที่จะให้สารสนเทศเพื่อช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในสภาวะแวดล้อมที่มักมีการเปลี่ยนแปลงได้ นั่นคือ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System)
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
สารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System)หรือ MIS คือระบบบริหารที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้งสารสนเทศจากภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งที่คาดว่าจะเป็นอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไฟเอสจะต้องให้สารสนเทศภายในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง แม้ว่าผู้บริหารที่ได้รับประโยชน์จากระบบเอ็มไอเอสสูงสุดคือผู้บริหารระดับกลาง แต่โดยพื้นฐานของระบบเอ็มไอเอสแล้ว จะเป็นระบบที่สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ผู้บริหารทั้ง 3 ระดับ คือทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง โดยระบบเอ็มไอเอสจะให้รายงานที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท จุดประสงค์ของรายงานจะเน้นให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นแนวโน้มและภาพรวมขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งสามารถควบคุมและตรวจสอบผลงานของระดับปฏิบัติการด้วย อย่างไรก็ดี ขอบเขตของรายงานจะขึ้นอยู่กับลักษณะของสารสนเทศและจุดประสงค์ในการใช้งาน โดยอาจมีรายงานที่ออกทุกคาบระยะเวลา รายงาตตามต้องการ หรือรายงานตามสภาวการณ์หรือเหตุปกติ ตัวอย่างรายงานที่ออกโดยระบบ MIS เช่น การวิเคราะห์การขายแยกตามพื้นที่ การวิเคราะห์ต้นทุน งบประมาณประจำปี การวิเคราะห์การลงทุน และตารางการผลิต เป็นต้น
คุณสมบัติของระบบเอ็มไอเอส
ลักษณะระบบของเอ็มไอเอสที่ดีสามารถสรุปได้ดังนี้
§ ระบบเอ็มไอเอส จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน
§ ระบบเอ็มไอเอส จะใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกัน และสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่างๆ ในองค์กร
§ ระบบเอ็มไอเอส จะช่วยให้ผู้บรหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ
§ ระบบเอ็มไอเอส จะมีความยืดหยุ่น และสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร
§ ระบบเอ็มไอเอส ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และกำจัดการใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
ความแตกต่างของเอ็มไอเอสและ ดีพี
§ การใช้ระบบฐานข้อมูลร่วมกันของเอ็มไอเอส แทนการใช้ระบบแฟ้มข้อมูลแบบแยกกันของระบบดีพี ทำให้มีความยืดหยุ่นพอที่จะให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ
§ ระบบเอ็มไอเอสจะรวบรวมเก็บข้อมูลจากฝ่ายทำงานต่างๆ ขณะที่ระบบดีพีมีการใช้งานแยกจากกันในแต่ละฝ่าย
§ ระบบเอ็มไอเอส จะให้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารทุกระดับ ในขณะที่ระบบดีพีจะให้ระดับปฏิบัติการเท่านั้น
§ สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ ส่วนมากจะได้รับการตอบสนองทันทีจากระบบเอ็มไอเอส ในขณะที่ระบบดีพีจะต้องรอให้ถึงเวลาสรุป (จากรายงาน)
ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ
ระบบการตัดสินใจ ( Decision Support Systems)หรือ DSS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นจากระบบอ็มไอเอสอีกระบบหนึ่ง เนื่องจากผู้ที่มีหน้าที่ในการตัดสินใจจะสามารถใช้ประสบการณ์หรือใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วในระบบเอ็มไอเอสของระบริษัท สำหรับการตักสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพในงานปกติ แต่บ่อยครั้งที่ผู้ตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์ และเผชิญกับการตัดสินใจที่ประกอบด้วยปัจจัยที่ซับซ้อนเกินกว่าความสามารถของมนุษย์ที่จะประมวลผลเข้าด้วยกันได้อย่างถูกต้อง จึงทำให้เกิดการสนับสนุนการตัดสินใจ ซึ่งเป็นระบบที่สนับสนุนความต้องการเฉพาะของผู้บริหารแต่ละคน (made by order)
ในหลาย ๆ สถานะการณ์ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีหน้าที่ช่วยให้การตัดสินใจเป็นไปได้อย่างสะดวก โดยอาจจะช่วยผู้ตัดสินใจในการเลือกทางเลือก หรืออาจมีการจัดอันดับให้ทางเลือกต่าง ๆ ตามวิธีที่ผู้ตัดสินใจจะเป็นระบบสารสนเทศแบบโต้ตอบได้ ซึ่งจะใช้ชุดเครื่องมือที่ประกอบขึ้นจากทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่อช่วยให้ผู้ตัดสินใจสามารถใช้งานได้ง่ายที่สุด เช่น การแสดงกราฟฟิกแบบต่าง ๆ หรือใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล (Data Base) เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีการใช้โมเดลการวางแผนการทำนาย รวมทั้งการใช้ภาษาในการซักถามที่ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ หรือแม้แต่ระบบปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้บริหารสามารถเรียกใช้สารสนเทศที่ต้องการได้ โดยไม่จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเลย
คุณสมบัติของระบบดีเอสเอส
ลักษณะของระบบดีเอสเอสที่ดีสามารถสรุปได้ดังนี้
§ ระบบดีเอสเอสจะต้องช่วยผู้บริหารในกระบวนการตัดสินใจ
§ ระบบดีเอสเอสจะถูกออกแบบมาสามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบกึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้างแน่นอนได้
§ ระบบดีเอสเอสจะต้องสามารถสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ทุกระดับแต่จะเน้นที่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธสาสตร์
§ ระบบดีเอสเอสจะมีรูปแบบการใช้งานเอนกประสงค์ มีความสามารถในการจำลองสถานการณ์ และมีเครื่องมือในการวิเคราห์สำหรับช่วยเหลือผู้ทำการตัดสินใจ
§ ระบบดีเอสเอสจะต้องมีระบบโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ สามารถใช้งานได้ง่าย ผู้บริหารต้องสามารถใช้งานโดยพึ่งความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญน้อยที่สุดหรือไม่ต้องพึ่งเลย
§ ระบบดีเอสเอสสามารถปรับตัวให้เข้ากับข่าวสารในสภาพการณ์ต่างๆ
§ ระบบดีเอสเอสต้องมีระบบกลไกช่วยให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
§ ระบบดีเอสเอสต้องสามารถติดต่อกับฐานข้อมูลองค์กรได้
§ ระบบดีเอสเอสต้องทำโดยไม่ขึ้นกับระบบทำงานตามตารางเวลาขององค์กร
§ ระบบดีเอสเอสต้องมีความยืดหยุ่นพอที่จะรองรับรูปแบบการบริหารต่างๆ
ความแตกต่างของระบบดีเอสเอสและเอ็มไอเอส
§ ระบบเอ็มไอเอส จะถูกออกแบบเพื่อจัดการเฉพะกับผู้ที่มีปัญหาที่มีโครงสร้างเท่านั้น ในขณะที่ระบบดีเอสเอถูกออกแบบให้สามารถจัดการกับปัญหาแบบกึ่งมีโครงสร้าง หรือแบบไม่มีโครงสร้างแน่นอน
§ ระบบเอ็มไอเอส จะถูกออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนงานที่แน่นอน เช่น ระบบบัญชี การควบคุมสินค้าคงคลัง
§ ระบบเอ็มไอเอสจะให้รายงานหรือสารสนเทศที่สรุปออกมากับผู้ใช้ ในขณะที่ระบบดีเอสเอสจะโต้ตอบโดยทันที
§ ในระบบไอเอ็มเอส ผู้ใช้ไม่สามารถขอให้ระบบสนับสนุนสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจที่ต้องการเป็นการเฉพาะ หรือในรูปแบบที่เฉพาะตัว แต่ในระบบดีเอสเอส ผู้ใช้สามารถกำหนดได้เอง
§ ระบบเอ็มไอเอศจะให้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์สูงกับผู้บริหารระดับกลาง ในขณะที่ระบบดีเอสเอสจะให้สารสนเทศที่เหมาะกับทั้งผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง
ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง
ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems )หรือ EIS เป็นระบบที่สร้างขึ้น เพื่อสนับสนุนสารสนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ หรือสามารถกล่าวได้ว่าระบบอีไอเอสคือส่วนหนึ่งของระบบดีเอสเอสที่แยกออกมา เพื่อเน้นในการให้สารสนเทศที่สำคัญต่อการบริหารแก่ผู้บริหารระดับสูงสุด
ระบบอีไอเอสจะใช้ข้อมูลจากทั้งภายในภายนอกองค์กร (เช่น รายงานจากหน่วยงานของรัฐบาล หรือข้อมูลประชากร) นำมาสรุปอยู่ในรูปแบบที่สามารถตรวจสอบ และใช้ในการตัดสินใจโดยผู้บริหารได้ง่าย นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้บริหารดูในรายละเอียดที่ต้องกรในจุดต่างๆได้อีกด้วย
ตัวอย่างของระบบอีไอเอส เช่น รายงานเกี่ยวกับการเงินและสถานะภาพทางธุรกิจของบริษัทรวมทั้งอัตราส่วนสินทรัพย์ต่อหนี้สิน หรือจำนวนลูกค้าเฉลี่ยต่อนาทีที่ใช้บริการสนับสนุนหลังการขายทางโทรศัพท์เป็นต้น โดยระบบอาจแสดงลูกศรเพื่อให้ทราบว่าอัตราส่วนดีขึ้น เท่าเดิมหรือแย่ลง รวมทั้งข้อมูลที่แสดงอาจใช้สีในการแสดงสถานการณ์ต่างๆก็ได้ ซึ่งลูกศรหรือสีจะช่วยให้ผู้บริหารทราบถึงแนวโน้มได้อย่างรวดเร็ว ระบบอีไอเอสจะถูกออกแบบให้แสดงสารสนเทศขององค์กรโดยสรุป แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถดูลึกเข้าไปถึงรายละเอียดที่ต้องการได้ โดยการเลือกหัวข้อที่สนใจและสั่งให้ระบบแสดงข้อมูลในส่วนนั้นเพิ่มเติม
ให้สารสนเทศสรุปของบริษัทในเวลาที่ต้องการยากต่อการประเมินผลประโยชน์ที่ได้จากระบบ
ความแตกต่างของระบบอีไอเอส และดีเอสเอส
§ ระบบดีเอสเอสถูกออกแบบเพื่อให้สารสนเทศที่สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลางถึงระดับสูง แต่ระบบอีไอเอสจะเน้นการให้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ
§ ระบบดีเอสเอสจะมีส่วนของการใช้งานที่ใช้ไม่ง่ายเท่ากับระบบอีไอเอส เนื่องจากระบบอีไอเอสเน้นให้ผู้บริหารระดับสูงสุดใช้นั่นเอง
§ ระบบอีไอเอสสามารถสร้างขึ้นมาบนระบบดีเอสเอส เสมือนเป็นระบบซึ่งช่วยให้สอบถามและใช้งานข้อมูลได้สะดวกขึ้น ซึ่งระบบอีไอเอสจะส่งต่อการสอบถามนั้นไปยังระบบดีเอสเอส และทำการสรุปข้อมูลที่ระบบดีเอสเอสส่งมาให้อยู่ในรูปที่ผู้บริหารสามารเข้าใจได้ง่าย
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)
ระบบผู้เชี่ยวชาญมีส่วนที่คล้ายคลึงกับระบบอื่นๆ คือเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยผู้บริหารแก้ไขปัญหาหรือทำการตัดสินได้ดีขึ้น ระบบผู้เชี่ยวชาญจะแตกต่างกับระบบอื่นอยู่มาก จะเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ (knowledge) มากกว่าสารสนเทศ และถูกออกแบบให้ช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดี่ยวกับผู้เชี่ยวชาญที่มนุษย์เป็น โดยใช้หลักการทำงานด้วยระบบ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)
ระบบผู้เชี่ยวชาญจะทำการโต้ตอบกับมนุษย์ โดยมีการถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่างให้ข้อแนะนำ และช่วยเหลือในการตัดสินใจ นั่นคือทำงานคล้ายกับเป็นมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหานั้น เนื่องจากระบบนี้คือการจำลองความรู้ของผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ มานั่นเอง โดยผู้เชี่ยวชาญในที่นี้อาจเป็นได้ทั้งผู้เชี่ยวชาญในการบริหาร ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องภาษี ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องยา หรือแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญในการทำอาหารก็ตาม
คุณสมบัติของระบบผู้เชี่ยวชาญ
ข้อดีของระบบผู้เชี่ยวชาญ จะค่อนข้างต่างกว่าระบบสารสนเทศอื่นๆ ดังนี้
§ ระบบผู้เชี่ยวชาญ ช่วยในการเก็บความรู้ของผู้เชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่งไว้ ทำให้ไม่สูญเสียความรู้นั้น เมื่อผู้เชี่ยวชาญต้องการออกจากองค์กรหรืออาจไม่ปฏิบัติงานได้
§ ระบบผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยขีดความสามารถในการตัดสินใจให้กับผู้บริหารจำนวนมากพร้อมๆ กัน
§ ระบบผู้เชี่ยวชาญ สามารถเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและประสิทะผลให้กับผู้ตัดสินใจได้อย่างมาก
§ ระบบผู้เชี่ยวชาญ จะทำให้การตักสินใจในแต่ละครั้งมีความใกล้เคียงและไม่มีความขัดแย้งกัน
§ ระบบผู้เชี่ยวชาญ ช่วยลดการพึ่งพาบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
§ ระบบผูเชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมที่จะเป็นระบบในการฝึกสอนเป็นอย่างมาก

Tuesday, December 9, 2008

การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๕๕

ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยวิสัยทัศน์ใหม่ของการพัฒนาระบบราชการ
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้กำหนดวิสัยทัศน์ใหม่ของการพัฒนาระบบราชการ ในช่วงระยะปี พ.ศ. 2551 -พ.ศ.2555 ไว้ดังต่อไปนี้
“ ระบบราชการไทย มุ่งเน้นประโยชน์สุข ของประชาชนและรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ มีขีดสมรรถนะสูง สามารถเรียนรู้ ปรับตัวและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง ยึดมั่นในหลักจริยธรรมและธรรมาภิบาล”
ระบบราชการไทยเป็นกลไกของรัฐที่มีความสำคัญอย่างสูงต่อการบริหารกิจการบ้านเมืองภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยเฉพาะการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาล การอำนวยความสะดวกและให้บริการประชาชน รวมถึงการดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย อันมีจุดหมายปลายทางเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติระบบราชการไทยที่พึงประสงค์จะต้องให้คุณค่าความสำคัญและยึดมั่นในปรัชญา หลักการ และแนวทางดังต่อไปนี้
ระบบราชการไทยมุ่งเน้นประโยชน์สุของประชาชนและรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติมีขีดสมรรถนะสูง􀂎 ต้องให้ประชาชนเป็น “ศูนย์กลาง” ในการทำงานโดยต้องรับฟังความคิดเห็น ตอบสนองความต้องการและอำนวยประโยชน์ ลดขั้นตอนและภาระในการติดต่อของประชาชน มีระบบการแก้ไขปัญหาและรับเรื่องราวร้องทุกข์ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนเป็นที่พึ่งของประชาชนในยามมีปัญหาและความเดือดร้อน
􀂎 ปรับเปลี่ยนบทบาทของระบบราชการให้เป็นผู้สนับสนุนและอำนวยความสะดวก ไม่เป็นผู้ดำเนินการเสียเองหรือคงมีอำนาจมากจนเกินไป รวมทั้งต้องมีขนาดกำลังคนและใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม ไม่พยายามเข้าแทรกแซงและขยายตัวเกินไปจนเป็นภาระของประเทศหรือมีผลกระทบต่อภาคส่วนอื่นและสิทธิเสรีภาพของประชาชน
􀂎 ประสานการทำงานกับผู้บริหารราชการแผ่นดินฝ่ายการเมืองเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศสามารถให้ความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเชิงนโยบายอย่างมีเหตุผล ตั้งมั่นในความถูกต้อง เป็นกลาง ปราศจากอคติ และอยู่บนพื้นฐานของหลักจรรยาบรรณวิชาชีพนอกจากนี้ยังควรต้องให้การยอมรับและไม่เข้าไปแทรกแซงบทบาทและอำนาจหน้าที่ซึ่งกันและกันมีความพร้อมและทัศนคติในการทำงานเป็นทีมสามารถสร้างเครือข่ายร่วมมือกับภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคมรวมทั้งยังต้องสามารถบูรณาการและเชื่อมโยงการทำงานภายในระบบราชการเองในทุกระดับเข้าด้วยกัน
􀂎 มีขีดความสามารถในการรับรู้ เรียนรู้ มองไปข้างหน้าและคาดการณ์ล่วงหน้า มีความยืดหยุ่นคล่องตัวรวดเร็ว สามารถคิดริเริ่มและสร้างนวัตกรรม (agility)รวมถึงการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อขับเคลื่อนและปรับตัวได้อย่างราบรื่นเหมาะสม ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนของสภาพแวดล้อม
􀂎 สร้างระบบธรรมาภิบาลในการกำกับดูแลตนเองที่ดีเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและความเชื่อมั่นศรัทธา เปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ลดการใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจ รวมทั้งต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นแบบอย่างของการประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายไม่ใช่เป็นผู้สร้างปัญหาหรือภาระแก่สังคมเสียเอง
􀂎 มีความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานและสร้างคุณค่าต่อสังคม ในการทำงานและการตัดสินใจต้องอาศัยข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้อง แน่นอน และทันกาล โดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ในการทำงานรวมทั้งต้องมีเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจนและสามารถตรวจสอบวัดผลสัมฤทธิ์ได้
􀂎 แสวงหา พัฒนาและธำรงรักษาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถค่านิยมและกระบวนทัศน์อันเหมาะสมและเอื้อต่อการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ตลอดจนทำ ให้บุคลากรในระบบราชการตั้งมั่นอยู่ในศักดิ์ศรีและจรรยา สามารถแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตนจากหน้าที่ทางการงาน ไม่แสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นในทางมิชอบ
ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ
ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยในช่วงระยะปี พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555
สามารถแยกออกได้เป็น 4 ประการ ดังนี้
1. ยกระดับการให้บริการและการทำงาน เพื่อตอบสนองความคาดหวังและความต้องการ ของประชาชนที่มีความสลับซับซ้อน หลากหลายและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
2. ปรับรูปแบบการทำงานให้มีลักษณะเชิงบูรณาการ เกิดการแสวงหาความร่วมมือและสร้าง เครือข่ายกับฝ่ายต่าง ๆ รวมทั้งเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
3. มุ่งสู่การเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง บุคลากรมีความพร้อมและความสามารถ ในการ เรียนรู้ คิดริเริ่ม เปลี่ยนแปลงและปรับตัวได้อย่างเหมาะสมต่อสถานการณ์ต่าง ๆ
4. สร้างระบบการกำกับดูแลตนเองที่ดี เกิดความโปร่งใส มั่นใจ และสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งทำให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อประชาชนและต่อสังคมโดยรวม
การนำยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยไปสู่การปฏิบัติ
ระบบราชการไทยมีขนาดค่อนข้างใหญ่และมีความซับซ้อนค่อนข้างมาก การนำยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติแบบก้าวเดินไปพร้อมกันทั้งระบบอาจไม่เห็นผลการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดในระยะเวลาสั้นๆ ได้ แม้ว่าจะได้มีการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ครั้งใหญ่ไปแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2545แต่ก็พบว่าการจัดระเบียบโครงสร้างการบริหารราชการของฝ่ายพลเรือนก็ยังคงติดยึดกับแนวความคิดที่ต้องการให้ระบบราชการมีความเป็นหนึ่งเดียวเพื่อให้สามารถยึดโยงเปรียบเทียบกันได้ หรือต้องมีลักษณะเป็นระเบียบแบบแผนที่เหมือนกัน ไม่ได้แยกแยะและออกแบบให้มีความแตกต่างกัน ทั้งในแง่ของมิติลักษณะธรรมชาติงาน เช่น งานประเภทนโยบาย งานประเภทกำกับควบคุม งานประเภทบริการ งานขับเคลื่อนนโยบายพิเศษของรัฐบาล หรือในแง่ของมิติกลุ่มผู้รับบริการ เช่น ธุรกิจเอกชนผู้มีรายได้จากการทำงานประจำ ประชาชนผู้ยากจนและด้อยโอกาส เป็นต้น ทำให้เกิดข้อจำกัดในการปฏิบัติงานที่ต้องตอบสนองความหลากหลายดังกล่าว
กล่าวอีกนัยหนึ่ง มีความจำเป็นต้องเปิดให้มีการสร้างระบบย่อย (Sub-systems) ในระบบราชการ โดยเฉพาะการศึกษาเชิงลึกเพื่อให้เห็นสภาพปัญหาอุปสรรคและวางแนวทางการจัดระบบเพื่อปรับปรุงการทำงานของแต่ละระบบย่อยให้มีความเหมาะสม ซึ่งอาจมีรูปแบบและลักษณะการบริหารงานเป็นการเฉพาะของตนเอง ทั้งในแง่ของโครงสร้างองค์การ ระบบงาน กฎระเบียบ การบริหารงานบุคคลและการงบประมาณ รวมถึงการวัดผลการดำเนินงาน ทั้งนี้ เพื่อให้มีความยืดหยุ่นคล่องตัวทางการบริหาร เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม สามารถคิดริเริ่มและตอบสนองต่อความท้าทายในด้านต่างๆ อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ การพัฒนาระบบราชการในก้าวต่อไปนั้น จึงจำเป็นต้องยอมรับความแตกต่างหลากหลายไม่พยายามดึงให้เข้ามาอยู่ในระเบียบแบบแผนเดียวกันทั้งหมด รวมทั้งจะต้องไม่ตั้งสมมติฐานว่าหน่วยงานราชการจะต้องเป็นผู้ดำเนินการทุกอย่างเอง หรือพยายามปรับปรุงให้ระบบราชการมีขีดสมรรถนะสูงในภารกิจงานที่ไม่ควรดำเนินการเองอีกต่อไปแล้ว นอกจากนี้ยังอาจต้องใช้ยุทธวิธีดำเนินการแบบคู่ขนานทั้งในแง่ของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้เคลื่อนตัวไปพร้อมกันทั้งหมดและการเลือกเน้นบางจุดมาดำเนินการพัฒนาให้บังเกิดผลก่อนฉะนั้น ในช่วงระยะประมาณ 6 เดือนแรกของการนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ ไทย (พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555) ไปสู่การปฏิบัตินั้น ก.พ.ร. จะประสานการดำเนินงานร่วมกับ หน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
􀂂 ทบทวนบทบาทและภารกิจของภาครัฐในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม
ของประเทศและของโลก รวมถึงการสอบทานพันธกิจและอำนาจหน้าที่ โครงสร้างและระบบงาน ผลสัมฤทธิ์ การใช้ทรัพยากรและอัตรากำลังของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในทุกระดับใหม่อีกครั้งหนึ่งโดยคำนึงถึงความคิดเห็นหรือความต้องการของประชาชน และความพร้อมของฝ่ายต่างๆ ที่จะรับถ่ายโอนภารกิจของภาครัฐไปดำเนินการแทน ทั้งนี้ การวิเคราะห์ดังกล่าวจะมุ่งเน้นให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกในประเด็นวาระที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ต่อการพัฒนาประเทศและการบริหารราชการแผ่นดิน เช่น ลอจิสติกส์ อาหารและสินค้าเกษตร การท่องเที่ยว การบริหารจัดการเรื่องทรัพยากรน้ำ
􀂂 หากมีความจำเป็นที่ภาครัฐยังคงต้องมีบทบาทและภารกิจอยู่ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการวางนโยบาย การกำกับควบคุม หรือการดำเนินงานเอง ก็จะมีการออกแบบระบบย่อย โดยนำกลยุทธ์ต่างๆ ตามที่ปรากฎในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย(พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555) อาทิเช่น การสร้างเครือข่าย การให้ประชาชนมีส่วนร่วมการเสริมสร้างขีดสมรรถนะและการกำกับดูแลตนเองที่ดี มาประยุกต์ใช้ให้มีความเหมาะสม
ปัจจัยเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการพัฒนาระบบราชการไทย
ในการนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555) ไปสู่การปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จนั้น จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนเพื่อให้มีปัจจัยเกื้อหนุนรองรับหลายประการ กล่าวคือ
1. การสร้างความเป็นเจ้าของในการบริหารการเปลี่ยนแปลง
􀂂 ต้องมีการเสริมสร้างภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับสูงในแต่ละหน่วยงานให้มีความสนใจและสนับสนุนในเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจัง รวมถึงการกำหนดให้มีผู้บริหารระดับสูง เช่น ตำแหน่งที่ปรึกษาการพัฒนาระบบบริหาร เพื่อทำหน้าที่และรับผิดชอบในการบริหารการเปลี่ยนแปลงเป็นการเฉพาะและปฏิบัติงานอย่างเต็มเวลาขึ้นในแต่ละส่วนราชการ
􀂂 กำ หนดให้แต่ละหน่วยงานต้องมีการวางเป้าหมายหรือปักหมุดที่พึงประสงค์(Milestones) ในการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงองค์การ รวมทั้งดำเนินการจัดทำแผนที่นำทาง (Roadmap) ให้มีความชัดเจน ในรูปแบบของแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารราชการของกระทรวง ซึ่งมีความเชื่อมโยงและรองรับต่อยุทธศาสตร์การเสริมสร้างธรรมาภิบาล/การบริหารจัดการที่ดี หรือที่เรียกชื่ออย่างอื่นในแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีของแต่ละกระทรวง
􀂂 ยกระดับความสำคัญและเสริมสร้างขีดความเข้มแข็งของกลุ่มพัฒนาระบบบริหารโดยเฉพาะในระดับกระทรวง ให้สามารถรับผิดชอบในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารราชการของกระทรวงสู่การปฏิบัติได้อย่างบรรลุผลโดยเฉพาะการบูรณาการและเชื่อมโยงหน่วยงานภายในของกระทรวง รวมทั้งเป็นเครือข่ายในการพัฒนาระบบราชการ
􀂂 ต้องมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อลงทุนในการพัฒนาองค์การและทรัพยากรบุคคลให้แก่แต่ละหน่วยงานอย่างเหมาะสมและเพียงพอ โดยยึดตามแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารราชการดังกล่าวข้างต้นเป็นหลัก
2. การร่วมเป็นเจ้าภาพในการพัฒนาระบบราชการ
􀂂 ส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการของตน ให้สามารถเทียบเคียงสมรรถนะกับภาคเอกชน หรือหน่วยงานในภาครัฐที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า หรือองค์กรที่เป็นผู้นำ ที่เป็นกรณีศึกษาที่เป็นตัวอย่างดำเนินการ (Best Practices) เพื่อเป็นพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ ร่วมกับ ก.พ.ร. ซึ่งอาจจะมาจากการลงทุนสร้างหรือเสาะแสวงหา “หน่วยงานต้นแบบ” ซึ่งมีการคิดริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ หรือสามารถดำเนินการด้านใดด้านหนึ่งเป็นผลสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับหรือมีความเป็นเลิศ และนำมาใช้เป็นต้นแบบเพื่อการเทียบเคียง (Benchmarking)และเป็นศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ แหล่งทัศนศึกษา ดูงาน ในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการให้แก่หน่วยงานอื่นๆ ต่อไป
ทั้งนี้ ในบางกรณีอาจเป็นรูปแบบของการประกวดหรือแสวงหาหน่วยงานต้นแบบภายในกระทรวงเดียวกันเช่น โรงเรียนหรือโรงพยาบาล “ในฝัน” ขึ้นมาเป็นตัวต้นแบบสำหรับการเทียบเคียงก็ได้
􀂂 ส่งเสริมให้มีกลไกประสานและเชื่อมโยงการทำงานของหน่วยงานกลางเข้าด้วยกันเพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีเอกภาพ รวมทั้งลดความซ้ำซ้อนและไม่สร้างภาระให้แก่ส่วนราชการจนเกินความจำเป็น
􀂂 แสวงหาความร่วมมือจากภาคธุรกิจเอกชนให้เข้ามาร่วมมือกับ ก.พ.ร. มากขึ้น เพื่อช่วยถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ หรือเทคโนโลยีบางอย่างให้แก่ข้าราชการและหน่วยงานของรัฐ ในฐานะของการเป็นบรรษัทพลเมืองที่ดี (Good CorporateCitizenship) ซึ่งมีความรับผิดชอบต่อสังคม ตัวอย่างเช่น ในปัจจุบันเจ้าหน้าที่ผู้บริหารสูงสุดของหลายบริษัทได้ทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษา/พี่เลี้ยง เพื่อฝึกงานให้แก่ข้าราชการในโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ (นปร.) เป็นต้น
􀂂 ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและองค์กรการพัฒนาระหว่างประเทศเพื่อสร้าง “ศูนย์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาระบบราชการไทย” ในการศึกษาวิจัย สร้างกรณีศึกษาต้นแบบ และแสวงหานวัตกรรมและความคิดริเริ่มใหม่มาปรับใช้กับการพัฒนาระบบราชการของไทย รวมถึงการเปิดให้ประชาชนและข้าราชการได้แสดงความคิดเห็นและข้อแนะนำในการปรับปรุงการทำงานของทางราชการ เช่น กรณีของการส่งเสริมมีโครงการ “ความคิดไร้ขีดจำกัด” (Ideas are free) โดยเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานแสดงความเห็นอย่างอิสระ ซึ่งความคิดเห็นเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็สามารถเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญและนำไปสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์การขนานใหญ่ได้
เครื่องมือในการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติให้บังเกิดผล
1. การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง
􀂂 มีการสร้างความเข้าใจ กระตุ้น เร่งเร้า สื่อสาร ทำความเข้าใจกับข้าราชการในทุกระดับอย่างต่อเนื่องและจริงจัง โดยเฉพาะสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนให้กับกลุ่มข้าราชการ ประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง กระตุ้นให้เกิดการประสานเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างเป็นรูปธรรม สร้างความรู้สึกในการมีส่วนร่วม (Create emotional trigger)รวมทั้งสร้างความตื่นเต้นและการประสานงานอย่างสอดคล้องในระบบการทำงานและการให้บริการต่าง ๆ ผ่านกิจกรรมสื่อสารสร้างความเข้าใจ เช่น การฝึกอบรมการประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดสัมมนา การเดินสายเผยแพร่ พร้อมสื่อ เช่นโปสเตอร์ แผ่นพับ ซีดี นิตยสาร คู่มือ เพื่อนำไปสู่ความภาคภูมิใจและความเชื่อมั่นในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ สร้างความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาระบบราชการไทยต่อไป
􀂂 เพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้าราชการแต่ละบุคคลในทางตรงมากขึ้น รวมถึงการเปิดช่องทางการสื่อสารสองทางให้ข้าราชการได้ร่วมแสดงความคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์โดยเฉพาะระบบสื่อสารผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เช่น e-Newsletter, Weblog, Wikipedia, Webboard และการสำรวจแบบออนไลน์
􀂂 ปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรฝึกอบรมและพัฒนาข้าราชการให้มีความทันสมัยและรองรับต่อการพัฒนาระบบราชการมากขึ้นและบังเกิดผลคุ้มค่าต่อการลงทุน ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของการพบปะเพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคมเท่านั้น ในการนี้ควรมุ่งเน้นความเข้มข้นทางวิชาการ วางระบบตรวจสอบและประกันคุณภาพ เน้นกรณีศึกษาและทดลองปฏิบัติงานจริงมากกว่าฟังการบรรยาย รวมทั้งพยายามให้การฝึกอบรมและพัฒนาข้าราชการมีผลต่อการปรับเปลี่ยนค่านิยมและกระบวนทัศน์อย่างแท้จริง
2. ผลักดันพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
􀂂 ให้มีการบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 อย่างจริงจังและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของมาตรา 3/1แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 โดยเฉพาะส่งเสริมให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้รับการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในเรื่องธรรมาภิบาล ตามที่กำ หนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
􀂂 สำรวจและจัดให้มีการแก้ไขกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี กฎ ระเบียบ คำสั่ง ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบราชการ/การให้บริการประชาชน หรือการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตามนัยของมาตรา 35 และมาตรา 36แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 โดยประสานความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ 2550
3. การสร้างแรงจูงใจ
􀂂 รักษาระบบการสร้างแรงจูงตามผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปของตัวเงิน ได้แก่ การจัดสรรเงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้บริหารและเงินรางวัลสำหรับผู้ปฏิบัติงานประจำปี เงินงบประมาณเหลือจ่ายเพื่อนำมาจัดสรรเป็นสิ่งจูงใจ และในรูปที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น การให้เข้าร่วม ฝึกอบรม ดูงาน หรือการเข้าร่วมประชุมระดับนานาชาติตามความต้องการสำหรับผู้บริหารการเลื่อนชั้นตราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้เร็วขึ้น การได้รับการเชิดชูเกียรติหรือได้ใบประกาศเกียรติคุณ นอกจากนี้ ควรให้ความสำคัญกับมาตรการเชิงลบอย่างจริงจังมากขึ้น เช่น การสับเปลี่ยนให้ไปดำรงตำแหน่งอื่นในกรณีที่ปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
4. เพิ่มบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนและสื่อมวลชนในการพัฒนาระบบราชการ กล่าวคือ
􀂂 ในส่วนของประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ทั้งในแง่ของบทบาทในฐานะเป็นผู้เฝ้าระวัง เช่น คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด (กธจ.) ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ซึ่งจะได้มีการขยายให้ครอบคลุมทุกส่วนราชการต่อไป และบทบาทในฐานะผู้ให้ข้อคิดเห็นป้อนกลับเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ และคุณภาพการให้บริการแก่ประชาชน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนาการทำงานผ่านทางช่องทางต่างๆ
􀂂 ในส่วนของสื่อมวลชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้เช่นกัน โดยเฉพาะการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับความสำเร็จและ/หรือปัญหาอุปสรรคข้อขัดข้องในการปฏิบัติราชการและร่วมติดตามการทำงานของส่วนราชการ รวมทั้งเป็นสื่อกลางในการนำความคิดเห็นของประชาชนฝ่ายต่างๆ มานำ เสนอเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาระบบราชการ

Thursday, December 4, 2008

การมอบอำนาจเรื่องโรงเรียนนิติบุคคล

อำนาจหน้าที่ของสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน
หากจะพิจารณาถึงอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลแล้วจะเห็นได้ว่าผู้อำนวยการสถานศึกษา จะมีฐานะเป็นผู้แทนของนิติบุคคลแต่ก็มิได้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการสถานศึกษาอย่างกว้างขวางเช่นเดียวกับหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงทบวง กรม ทั้งนี้เพราะในระบบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการของไทยนั้น ให้ความไว้วางใจแก่หัวหน้าส่วนราชการในระดับกระทรวง ทบวง กรมที่จะใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายได้อย่าง กว้างขวาง เมื่อพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖บัญญัติให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคล แต่มิได้แก้ไขปรับปรุงกฎหมายอื่น ๆ ให้ผู้บริหารสถานศึกษามีอำนาจหน้าที่ในการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ เช่นเดียวกับหัวหน้าส่วนราชการในระดับ กระทรวงทบวง และ กรมด้วย จึงเป็นผลให้ผู้บริหารสถานศึกษายังไม่อาจบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีความอิสระคล่องตัวและมีประสิทธิภาพได้อย่างแท้จริงเพราะอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการในหลายเรื่องยังเป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าส่วนราชการในระดับกระทรวง ทบวง และกรมอยู่ หากจะให้สถานศึกษาบริหาร จัดการได้เองอย่างอิสระและคล่องตัวในเรื่องใด ก็จำเป็นต้องจัดให้มีการกระจายและมอบอำนาจในเรื่องนั้น ๆ ให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา ดังนั้น มาตรา ๔๔ และมาตรา ๔๕แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ จึงได้บัญญัติเกี่ยวกับการกระจายอำนาจและ มอบอำนาจไว้ดังนี้
๑. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจะต้องกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาโดยตรง และหากเรื่องใดมีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะก็ให้ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวมอบอำนาจให้แก่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้อำนวยการสถานศึกษา ภายใต้หลักการบริหารงานการศึกษา ดังนี้
๑.๑ อำนาจหน้าที่ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับงบประมาณและการดำเนินการทางงบประมาณของผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา รวมตลอดถึงหลักการการให้สถานศึกษาหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีอำนาจทำนิติกรรมสัญญาในวงเงิน งบประมาณที่ได้รับอนุมัติแล้ว
๑.๒ หลักเกณฑ์การพิจารณาความดีความชอบ การพัฒนา และดำเนินการทางวินัยกับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยสัมพันธ์กับแนวทางที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูแลบุคลากรทางการศึกษาการกระจายอำนาจและการมอบอำนาจดังกล่าว จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎกระทรวง
๒. ปลัดกระทรวงศึกษาศึกษาธิการ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการ
ศึกษา ขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ยังอาจกำหนดหลักเกณฑ์ให้หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดมอบอำนาจในส่วนที่เกี่ยวกับภารกิจตนรับผิดชอบไปยังผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรงก็ได้
. ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และผู้อำนวยการสำนักบริหารงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการต่าง ๆ ก็อาจมอบอำนาจในส่วนที่เกี่ยวกับภารกิจที่ตนรับผิดชอบ หรือที่ได้รับมอบหมายตามระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ จากสำนักงาน คณะกรรมการต่าง ๆ ไปยังผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือ หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าผู้อำนวยการสถานศึกษาโดยตรงทั้งนี้ โดยจะต้องไม่ขัดต่อนโยบายหรือการสั่งการของกระทรวง หรือคณะกรรมการต้นสังกัด
๔. อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่นที่ผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้จะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของ คณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น หรือมิได้ห้ามเรื่องการมอบ อำนาจไว้ ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนได้โดยคำนึงถึงความเป็นอิสระ การบริหารงานที่คล่องตัวในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและของสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาที่บัญญัติในมาตรา ๔๔ (๑) และ (๒) ดังนี้
๔.๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอาจมอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวง เลขาธิการ หรือหัวหน้าส่วนราชการซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่าอธิการบดีในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาในสังกัด หรือผู้ว่าราชการจังหวัด
๔.๒ ปลัดกระทรวงอาจมอบอำนาจให้รองปลัดกระทรวง ผู้ช่วยปลัดกระทรวงหรือเลขาธิการ อธิการบดีในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาในสังกัด หรือผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือผู้ว่าราชการจังหวัด
๔.๓ เลขาธิการอาจมอบอำนาจให้รองเลขาธิการ ผู้ช่วยเลขาธิการ อธิการบดีในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาในสังกัด ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการ สำนักบริหารงานหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือผู้ว่าราชการจังหวัด
๔.๔ ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการสำนักบริหารงาน หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าอาจมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า
๔.๕ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า อาจมอบอำนาจให้ข้าราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นในเขตพื้นที่การศึกษาที่ตนรับผิดชอบได้ตามระเบียบที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
๔.๖ ผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า อาจมอบอำนาจให้ข้าราชการในสถานศึกษาหรือในหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นได้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษากำหนด
๔.๗ ผู้ดำรงตำแหน่ง (๔.๑) ถึง (๔.๖) อาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นได้ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
๕. การมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนนี้ต้องทำเป็นหนังสือ ซึ่งการทำเป็นหนังสือนั้นอาจจะทำเป็นคำสั่ง หรืออาจจะเป็นบันทึกสั่งการก็ได้
๖. คณะรัฐมนตรีก็อาจกำหนดให้มีการมอบอำนาจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ตลอดจนอาจมอบอำนาจให้ทำนิติกรรม ฟ้องคดี หรือดำเนินคดีแทนกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้หรืออาจกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขในการมอบอำนาจ ให้ผู้มอบอำนาจหรือผู้รับมอบอำนาจปฏิบัติก็ได้
๗. เมื่อมีการมอบอำนาจดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจซึ่งได้แก่หัวหน้าสถานศึกษา และผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ๆ มีหน้าที่ต้องรับมอบอำนาจ และปฏิบัติราชการตามที่ได้รับมอบอำนาจนั้น ตามวัตถุประสงค์ของการมอบอำนาจและให้เกิดผลดีแก่ทางราชการ จะปฏิเสธไม่รับมอบอำนาจหรือมอบอำนาจต่อให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นต่อไปไม่ได้ เว้นแต่เป็นกรณีการมอบอำนาจให้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดจะมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินก็ได้
ในเรื่องนี้จึงมีข้อสังเกตว่าหากผู้อำนวยการสถานศึกษาได้รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการในเรื่องใดแล้ว จะมอบอำนาจให้ข้าราชการในสถานศึกษาคนอื่นปฏิบัติราชการแทนตนอีกต่อหนึ่ง ไม่ได้ แต่อาจมอบหมายให้ดำเนินการต่าง ๆ โดยอยู่ในความรับผิดชอบ การสั่ง การอนุญาตอนุมัติ ของ ผู้อำนวยการสถานศึกษาในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ หรือเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาได้
๘. ผู้มอบอำนาจยังต้องคำนึงถึงการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ กระจายความรับผิดชอบตามสภาพของตำแหน่งของผู้รับมอบอำนาจ ซึ่งผู้มอบยังมีหน้าที่กำกับ ติดตามผลการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจและมีอำนาจแนะนำและแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจได้ในการมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาซึ่งเป็นผู้แทนของสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลนี้ เห็นว่าเป็นดุลพินิจของผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจที่จะมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสถานศึกษามากน้อยเพียงใดก็ได้แต่ต้องอยู่ภายในกรอบและหลักเกณฑ์ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกระจายอำนาจและการมอบอำนาจ การบริหารและการจัดการศึกษา ดังนั้น ในการมอบอำนาจนี้ผู้มอบอำนาจจะพิจารณาถึงความพร้อมและประสิทธิภาพของสถานศึกษาแต่ละแห่ง โดยอาจมอบอำนาจให้ไม่เท่ากันได้