Tuesday, January 20, 2009

ยุทธศาสตร์การบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก

ทำแบบทดลองสอบ พลวัต 42 ที่เวบครูคลับ ครับ และขอขอบคุณข้อมูลจากท่าน BonJoviQC.เรื่องยุทธศาสตร์การบริหารโรงเรียนขนาดเล็กของ สพฐ.


แผนยุทธศาสตร์โรงเรียนขนาดเล็ก (ปี ๒๕๕๑-๒๕๕๓) มีเป้าหมาย ดังนี้

ระยะที่ ๑ (ตุลาคม ๒๕๕๐-กันยายน ๒๕๕๑) จะพัฒนาระบบวางแผน ระบบการเรียนการสอน และทำความตกลงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องมาตรฐาน หลักเกณฑ์ ระเบียบและแนวทางปฏิบัติ โดยจะนำร่องตามรูปแบบการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพใน ๑๗๕ สพท.(ยกเว้น กทม.) จำนวน ๘๐๐ โรง (สพท.ละ ๑-๓ ตำบล)

ระยะที่ ๒ (ตุลาคม ๒๕๕๑-กันยายน ๒๕๕๒) จะนำร่องตามรูปแบบการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพใน ๑๗๕ สพท.(ยกเว้น กทม.) จำนวน ๑,๗๕๐ โรง (สพท.ละ ๑๐ โรง)

ระยะที่ ๓ (ตุลาคม ๒๕๕๒-กันยายน ๒๕๕๓) จะขยายผลไปยัง ๑๗๕ สพท. ๆ ละ ๑ อำเภอ คาดว่าจะมีโรงเรียนขนาดเล็กเข้าร่วมโครงการ ๔,๐๐๐ โรง จากนั้นจะประมวลผลการดำเนินงาน เพื่อปรับยุทธศาสตร์และเสนอแผนดำเนินการสำหรับโรงเรียนที่เหลือเพื่อเสนอรัฐบาลต่อไป

สำหรับยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กจะประกอบด้วย ๔ ยุทธศาสตร์ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ ๑ พัฒนาระบบวางแผนและการบริหารจัดการ

ประกอบด้วยการพัฒนาระบบวางแผนการจัดตั้งและพัฒนาโรงเรียนในแต่ละ สพท. การพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ การพัฒนาระบบบริหารจัดการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน และการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้บริหารและครูในโรงเรียนขนาดเล็ก

ยุทธศาสตร์ที่ ๒ พัฒนาระบบการเรียนการสอนและการประกันคุณภาพ

ประกอบด้วยการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนการผลิตและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนการนิเทศ ติดตาม กำกับ และการวิจัยและพัฒนาสื่อ

ยุทธศาสตร์ที่ ๓ เสริมสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งของโรงเรียน

ประกอบด้วยการจัดทำมาตรฐานโรงเรียนขนาดเล็ก การปรับปรุงและพัฒนาสถานที่เรียน สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การจัดอัตรากำลังครู การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และสนับสนุนงบประมาณ วัสดุ ครุภัณฑ์ที่จำเป็น

ยุทธศาสตร์ที่ ๔ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา

ประกอบด้วย การพัฒนาคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การสร้างและพัฒนาเครือข่ายผู้ปกครองให้เข้มแข็ง การส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม การเตรียมความพร้อมในการมีส่วนร่วมการจัดให้มีระบบและกลไกในการระดมทรัพยากร และการวิจัยและพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมที่เหมาะสม

Monday, January 12, 2009

ลองทำพลวัต 41 ที่เวบครูคลับ...และเตรียมตัวสอบภาค ก

ทดลองทำพลวัต 41 ที่เวบครูคลับครับ
--------------------------------------------------------

แนวทางการเตรียมตัวสอบ ภาค ก

งานวิชาการ

1.รวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่มีในเนื้อหางานวิชาการ ซึ่งปัจจุบัน โรงเรียนนิติบุคคล อาจแบ่งกลุ่มบริหาร 4 กลุ่มแตกต่างกันไม่มาก เช่น กลุ่มวิชาการ กลุ่มบริหารทั่วไป กลุ่มงบประมาณ และกลุ่มบริหารบุคคล

กลุ่มวิชาการ ในโรงเรียน เมื่อรวบรวมกลุ่มงานจากหลักเกณฑ์การกระจายอำนาจตามกฎกระทรวงแล้ว สามารถรวบรวมได้ประมาณ 13-16 เรื่อง แล้วแต่โรงเรียนนั้นๆจะแบ่งเป็นกี่กลุ่มงาน ตัวอย่าง

กลุ่มงานแนะแนว

กลุ่มงานทะเบียนและวัดผลประเมินผล

กลุ่มงานวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพ

กลุ่มงานประกันคุณภาพการศึกษา

กลุ่มงานพัฒนาสื่อและเทคโนโลยี

กลุ่มงานห้องสมุด

กลุ่มงานจัดการเรียนการสอน

กลุ่มงานสารสนเทศวิชาการ

กลุ่มงานนิเทศการศึกษา

กลุ่มงานพัฒนากลุ่มสาระการเรียนรู้ ฯลฯ

2.เมื่อรวบรวมเนื้อหาให้ได้ทั้งหมดในขอบข่ายของงานวิชาการแล้ว ควรอ่านทำความเข้าใจทุกเรื่องเท่าที่จะหาอ่านได้ ซึ่งต้องใช้เวลานานพอสมควร ทั้งนี้การปฏิบัติจริงๆในงานนั้นๆจะได้เปรียบ ยกตัวอย่าง กลุ่มงานห้องสมุด มีเนื้อหาที่ต้องทำความเข้าใจอะไรบ้างเมื่อท่านเป็นผู้บริหารโรงเรียน... ห้องสมุดมีชีวิตคืออะไร กิจกรรมห้องสมุดจัดช่วงไหน ห้องสมุดมีส่วนในการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนอย่างไร สนับสนุนงานวิชาการอย่างไรบ้าง เช่น เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้า แหล่งเรียนรู้ รวมทั้งสารสนเทศของสื่อเทคโนโลยีที่มีในห้องสมุด(ห้องสมุดเสียง,Internet) เป็นต้น

3.ลักษณะการออกข้อสอบภาค ก ครั้งที่ผ่านมาที่เกี่ยวกับงานวิชาการ(รวมถึงอีก 3 งาน) ส่วนใหญ่ออกในลักษณะการวิเคราะห์ด้วยสมรรถนะในการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เป็นเชิงนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยให้มีการวิเคราะห์งานที่ปฏิบัติจริงๆในโรงเรียน แต่การวิเคราะห์งานดังกล่าวต้องอยู่ในขอบเขตและอิงกับปัจจัยดังนี้

3.1 พระราชบัญญัติฯ ,กฎ,ระเบียบ ,ข้อบังคับ หรือนโยบายจากกระทรวงศึกษาธิการ ,สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งรับนโยบายมาเป็นทอดๆ(โรงเรียนเป็นหน่วยงานที่ต้องปฏิบัติ) มีการคิดนอกกรอบบ้าง ข้อสอบลักษณะนี้ใช้กรอบดังกล่าวในการวิเคราะห์ วิธีการเตรียมสอบคือ ควรอ่านนโยบายจาก กระทรวงศึกษาธิการหรือสพฐ. ที่จัดทำเป็น โครงการ/กิจกรรม ต่างๆ เช่น กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน โรงเรียน I see You โรงเรียนดีใกล้บ้าน รวมถึงกิจกรรมโครงการที่หน่วยเหนือร่วมกับเอกชนหรือหน่วยงานอื่นๆ เช่น ไมโครซอร์ฟ ฯลฯ ส่วนกฎ,ระเบียบ,ข้อบังคับ ต่างๆ ควรทำความเข้าใจบ้าง เช่น ระเบียบการวัดผล ประเมินผล ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ,การจัดทำ ปพ.ทั้ง 9 ฝึกวิเคราะห์กว้างๆในมุมมองของผู้บริหารสถานศึกษา เช่น ปพ.ฉบับใด ไม่ต้องติดรูปนักเรียน? ผู้ใดเป็นคนมีอำนาจในการลงลายมือชื่อบ้าง...นอกจากผู้บริหาร ? ปพ. ฉบับใดที่ต้องทำหนังสือขออนุญาตซื้อจากสำนักงานเขตพื้นที่ฯ และต้องไปซื้อที่ไหน อย่างไร ? รวมถึงระเบียบการเขียน ปพ.เมื่อจบการศึกษาภาคบังคับ ขั้นพื้นฐาน...ฯลฯ

3.2 สมรรถนะ ของผู้บริหารสถานศึกษา การวิเคราะห์ในการทำข้อสอบครั้งที่ผ่านมามีสมรรถนะตามหลักสูตรสอบ เป็นกรอบในการคิด เช่น การทำงานเป็นทีม วิสัยทัศน์ การพัฒนาบุคลากร ฯลฯ ซึ่งการทำความเข้าใจกับทฤษฏี หรือแนวคิด ตัวชี้วัด ของคำว่า “สมรรถนะ” จึงจะช่วยให้การวิเคราะห์ข้อสอบอยู่ในกรอบการคิดที่ไม่ออกนอกกรอบจนเกินไป การทำความเข้าใจกับความหมายของสมรรถนะ กับการมีสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นคนละเรื่อง... ฯลฯ

4.ควรศึกษาค้นคว้า/อ่านแนวคิด-ทฤษฎีตามหลักวิชาการและเนื้อหาของขอบข่ายงานวิชาการ(ตามข้อที่ 1 )ทุกเรื่องแล้ว จะเห็นว่า เนื้อหากว้างขวางมาก บางเรื่องต้องรู้รายละเอียด เช่น กระบวนการในการทำวิจัย การจัดทำรายงานคุณภาพการศึกษาตามระบบประกันคุณภาพการศึกษา ของสมศ. แนวคิดในการนิเทศการศึกษาเมื่อท่านเป็นผู้บริหารสถานศึกษา รวมถึงการบริหารความขัดแย้งในเชิงทฤษฎี รวมถึงทฤษฎีการบริหารซึ่งสามารถศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆได้ทั่วไป