Wednesday, December 17, 2008

ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
1. ความมุ่งหมาย
- เพื่อให้นักเรียนมีระบบคุณภาพในการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนให้เป็นไปอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยมีฝ่ายกิจการนักเรียน งานแนะแนว งานส่งเสริมสุขภาพ งานระเบียบวินัย งานป้องกันสารเสพติด งานระดับชั้นและมีทีมครูที่ปรึกษาที่มีความรู้ มีทักษะ เจตคติในการดูแลช่วยเหลือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนทุกคนมีทักษะชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่น อย่างมีความสุข สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
- เพื่อให้โรงเรียน ผู้ปกครอง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และชุมชน มีการทำงานร่วมกันโดยผ่านกระบวนการที่มีระบบ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานการปฏิบัติงาน สามารถตรวจสอบติดตามและประเมินได้

2. ขอบข่าย
เป็นระบบที่เน้นกระบวนการ วิธีการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีขั้นตอน พร้อมด้วยเครื่องมือการทำงานที่ชัดเจน โดยมีฝ่ายกิจการนักเรียน งานแนะแนว งานส่งเสริมสุขภาพ งานระเบียบวินัย งานป้องกันสารเสพติด งานระดับชั้นและคณะครูที่ปรึกษา เป็นบุคลากรหลักในการดำเนินการส่งเสริม ดูแลช่วยเหลือนักเรียนในด้านต่าง ๆ ภายในโรงเรียน และประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง และองค์กรภายนอก

3. คำจำกัดความ
- การดูแลช่วยเหลือ หมายถึง การส่งเสริม การป้องกันและการช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา โดยวิธีการและเครื่องมือสำหรับครูที่ปรึกษา บุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินงานพัฒนานักเรียน โดยเน้นให้นักเรียนเป็นคนดี คนเก่ง ปลอดภัยจากสารเสพติด และมีความสุขในการดำรงชีวิต
- เกณฑ์การคัดกรอง เป็นการนำเสนอข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ มากำหนดร่วมกันเพื่อการตัดสินใจการส่งเสริม หรือให้การช่วยเหลือ
- กลุ่มเสี่ยง / มีปัญหา นักเรียนที่มีปัญหาด้านความสามารถ ด้านสุขภาพ ด้านครอบครัวและด้านอื่น ๆ ตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด
- การส่งต่อ การส่งนักเรียนที่มีปัญหา ที่ครูช่วยเหลือแล้ว นักเรียนไม่ดีขึ้น และยากต่อการช่วยเหลือ
จึงดำเนินการส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่อไป
- การส่งต่อภายใน ครูที่ปรึกษาส่งต่อไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องภายในโรงเรียน โดยพิจารณาจากปัญหาของนักเรียน เช่น ครูแนะแนว ครูพยาบาล ครูโภชนาการ ครูประจำวิชา หรือฝ่ายกิจการนักเรียน เป็นต้น
- การส่งต่อภายนอก ผู้ที่เกี่ยวข้องภายในโรงเรียนดำเนินการส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในกรณีที่นักเรียนมีปัญหา ยากต่อการช่วยเหลือ
4. เอกสารหลักฐาน
- ระเบียนสะสม (ป.พ. 8)
- บันทึกการเยี่ยมบ้านนักเรียน
- แบบประเมินพฤติกรรมนักเรียน (SDQ)
- แบบสรุปผลการคัดกรองนักเรียน
- แบบบันทึกกิจกรรมโฮมรูม
- สรุปประเมินความพึงพอใจของนักเรียนในการรับการช่วยเหลือ
- สรุปประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
และการจัดกิจกรรมประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน(Classroom meeting)
5.สรุปขั้นตอนการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
5.1 การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยการเยี่ยมบ้านนักเรียน และสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล
5.2 การคัดกรองนักเรียน โดยคัดกรองนักเรียน 2 ประเภท คือนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มปกติ โดยจัดทำแบบประเมินนักเรียน(SDQ) 3 ฉบับ ฉบับนักเรียน ฉบับผู้ปกครองและฉบับครู
5.3 การส่งเสริมนักเรียน จัดกิจกรรมต่างๆเพื่อให้ความรู้และส่งเสริมทักษะให้กับนักเรียน โดยกำหนดเป็นแผนกิจกรรมประจำปีและให้นักเรียนเป็นผู้ดำเนินการ มีครูเป็นที่ปรึกษา
5.4 ป้องกันและแก้ไขปัญหา โรงเรียนกำหนดมาตรการเฝ้าระวัง กำหนดระเบียบ การให้คะแนนความประพฤติ เชิญวิทยากรภายนอกให้ความรู้ จัดบุคลากรสอดส่องตามชุมชน การตรวจสุขภาพ
5.5 การส่งต่อ เฉพาะนักเรียนที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมทั้งการส่งต่อภายในโรงเรียนและนอกโรงเรียน เช่นผู้เชี่ยวชาญ ร่วมมือกับผู้ปกครอง ติดตามอย่างใกล้ชิดจนแก้ปัญหาได้

6.ทีมระดับโรงเรียน
ทีมนำ คือ ผู้อำนวยการ,รองผู้อำนวยการโรงเรียน
ทีมประสาน คือ หัวหน้าคณะ หัวหน้าระดับ หัวหน้างานที่เกี่ยวข้อง
ทีมทำ คือ ครูประจำชั้น ครูที่ปรึกษา
7.ปัจจัยเอื้อ(Enable)
7.1 ความตระหนักของครู
7.2 การสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานร่วมกัน
7.3 ความศรัทธาของผู้ปกครองที่มีต่อโรงเรียน

No comments: