Tuesday, February 10, 2009

เตรียมสอบภาค ก การบริหารความเสี่ยง

การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
โดย ดร. สุรพงษ์ มาลี สำนักงาน ก.พ.

บทบาทของรัฐในการจัดการความเสี่ยง
ความเสี่ยงจากภัยเทคโนโลยีและภัยทางสังคม
ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ
ความเสี่ยงจากนโยบายและการดำเนินงาน
ความเสี่ยง (Risk) คืออะไร
􀂈 ความไม่แน่นอนว่าผลลัพธ์จะเกิดขึ้นตามที่ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่
􀂈 การกระทำหรือเหตุการณ์ที่อาจจะมีผลบั่นทอนความสามารถขององค์กรที่จะบรรลุเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้
􀂈 การกระทำหรือเหตุการณ์ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งโอกาส หรือสิ่งคุกคาม
􀂈 กินความถึงแนวโน้มหรือโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงและผลกระทบหากเหตุการณ์อุบัติขึ้นจริง
ทำไมต้องบริหารความเสี่ยง
􀂈 สอดคล้องกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
􀂈 เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารเชิงกลยุทธ์ คำรับรองการปฏิบัติราชการ และมาตรฐานการควบคุมภายใน 2544
􀂈 เพิ่มโอกาสและช่วยให้ส่วนราชการบรรลุเป้าประสงค์ และพันธกิจที่ตั้งไว้มากยิ่งขึ้น (ลด Surprises)
􀂈 พัฒนาผลงานขององค์กร เช่น การพัฒนาคุณภาพการส่งมอบบริการให้ประชาชน การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น
ความสัมพันธ์ของเป้าประสงค์ ความเสี่ยง และการควบคุม
เป้าประสงค์
สิ่งที่ส่วนราชการต้องการบรรลุ
สิ่งที่อาจขัดขวางหรือเป็นอุปสรรค ทำให้ส่วนราชการไม่สามารถบรรลุเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้
สิ่งที่จะช่วยให้ส่วนราชการบรรลุเป้าประสงค์ได้ หากมีการบริหารจัดการที่ดี
การวิเคราะห์และการบริหารความเสี่ยง
การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) คือ การรวบรวมและประมวลผลข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยง ที่องค์กรต้องเผชิญ (exposure to risks) ซึ่งจะช่วยให้องค์กรตัดสินใจกำหนดแนวทางในการบริหารความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม
การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) คืออะไร
􀂈 กระบวนการระบุหาความเสี่ยงที่สำคัญขององค์กร ประเมินผลกระทบของความเสี่ยง พัฒนาแนวทางการจัดการกับความเสี่ยงและนำไปปฏิบัติอย่างเป็นระบบ โดยมีการบูรณาการและ เน้นความสอดคล้องระหว่างกลยุทธ์ บุคลากร กระบวนงานและเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มคุณค่าสูงสุดให้กับองค์การ
􀂈 กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการระบุหาและควบคุมความเสี่ยง ซึ่งมีผลกระทบต่อการบรรลุพันธกิจและเป้าประสงค์ขององค์กร
การบริหารความเสี่ยงเป็นหน้าที่ของใคร
􀂈 ทุกคนเกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงในฐานะที่เป็นผู้ระบุว่ามีความเสี่ยงอะไรบ้าง ในหน่วยงาน/โครงการหรืองานของตน
􀂈 ฝ่ายบริหารของหน่วยงาน
􀂈 เจ้าของหรือเจ้าภาพความเสี่ยง (Risk Owners)
􀂾 ผู้บังคับบัญชาของหน่วยงาน
􀂾 เจ้าของโครงการ/เจ้าของงาน
􀂾 ผู้ที่ไดรับมอบหมายเฉพาะ
􀂾 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management and Review Committee)
เจ้าของ/เจ้าภาพความเสี่ยง (Risk Ownership)
􀂈 มีการตกลงและมอบหมายการเป็นเจ้าภาพความเสี่ยงอย่างเป็นทางการ
􀂈 อาจไม่ใช่คนที่รับผิดชอบการประเมินความเสี่ยงก็ได้ แต่ต้องเป็นคนที่สามารถติดตามดูแลให้มีการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ
􀂈 ต้องมีความชัดเจนว่าใครทำหน้าที่อะไร
􀂾 ใครเป็นผู้กำหนดนโยบายว่าส่วนราชการจะรับความเสี่ยงได้แค่ไหน
􀂾 ใครรับผิดชอบการบริหารความเสี่ยงในแต่ละระดับ
􀂾 ใครรับผิดชอบแต่ละกระบวนการ/ขั้นตอนของการบริหารความเสี่ยง
􀂾 ใครดูแลการนำมาตรการบริหารความเสี่ยงไปปฏิบัติ
􀂾 ใครดูแล กรณีที่เป็นความเสี่ยงร่วม (Interdependent risks)
การกำหนดกรอบนโยบายการบริหารความเสี่ยง
􀂈 กำหนดกรอบนโยบายการบริหารความเสี่ยง จาก
􀂾 ข้อกำหนดทางกฎหมาย ระเบียบ นโยบาย
􀂾 ระบุความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
􀂈 กำหนดวิสัยทัศน์ของการบริหารความเสี่ยง (Risk Vision Statement)
􀂈 มีแนวทางในการระบุ ประเมิน และรายงานด้านความเสี่ยง
􀂈 กำหนดเป้าหมาย และระบุอุปสรรคของการบริหารความเสี่ยง
􀂈 กำหนดแนวทางการประเมินผลความสำเร็จของการบริหารความเสี่ยง ตามมาตรฐานคุณภาพ
􀂈 ระบุเจ้าภาพความเสี่ยง
􀂈 สื่อสารกรอบนโยบายที่ชัดเจนให้ทั่วถึงทั้งองค์กร
ประโยชน์ของบริหารความเสี่ยง
􀂈 ประโยชน์ด้านยุทธศาสตร์ขององค์กร (Strategic Benefits)
􀂈 ประโยชน์ด้านการเงิน (Financial Benefits)
􀂈 ประโยชน์ต่อการบริหารแผนงานโครงการ (Programme Benefits)
􀂈 ประโยชน์ต่อกระบวนงาน (Business Process Benefits)
􀂈 ประโยชน์ต่อการบริหารจัดการโดยรวม (Overall Management Benefits)
ขั้นตอนการบริหารความเสี่ยง
ขั้นตอนที่ 1 การระบุและจำแนกความเสี่ยง (Risk Identification)
การระบุหาและจำแนกความเสี่ยงในองค์กร
􀂈 สำรวจว่ามีความเสี่ยงใดที่อาจทำให้การทำงานไม่เป็นไปตามเป้าประสงค์ของส่วนราชการ หรือหน่วยงาน (Risks must be identified relation to strategic objectives)
􀂈 จำแนกความเสี่ยงนั้น ๆ ว่าเกิดขึ้นในระดับใด และเป็นความเสี่ยงประเภทใด (อาจใช้ตาราง Matrix)
􀂈 จัดทำ/เขียน Risk Statement ซึ่งระบุสาเหตุของความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น (What, Why and How Thines can arise)
􀂈 การระบุหาและจำแนกความเสี่ยงอาจใช้
􀂾 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
􀂾 เจ้าภาพ/เจ้าของความเสี่ยง ประเมินโดยใช้ (Risk Self Assessment)
􀂾 การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
􀂈 สร้างความมั่นใจว่าผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง และข้าราชการทุกคน เข้าใจตรงกันเกี่ยวกับความเสี่ยงที่ระบุ (ไม่ควรใช้การลงคะแนนหากไม่จำเป็น ควรใช้การอภิปรายรับฟังความคิดเห็น)
􀂈 เก็บข้อมูลความเสี่ยงอย่างเป็นระบบเพื่อง่ายแก่การทบทวน และการจัดทำ Risk Registers and Risk Profile
ลำดับชั้นของความเสี่ยง ระดับ ยุทธศาสตร์ (Strategic Risk) ระดับแผนงาน/โครงการ (Programme Risk) ระดับกิจกรรมและงานปฏิบัติ (Operational Risk) Strategic decision Decisions transferring Strategy into action Decisions Required for implementation
ขั้นตอนที่ 2 การประเมินความเสี่ยง
การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment/Evaluation)
ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง
ผลผลิต
1. เลือกความเสี่ยงที่ระบุในขั้นตอนการระบุและจำแนกความเสี่ยง มาอภิปรายเพื่อหาสาเหตุ ผลกระทบ การควบคุมในปัจจุบัน และประสิทธิผลของการควบคุมนั้น
มีรูปแบบข้อมูลความเสี่ยงเบื้องต้นของส่วนราชการ (Risk Register2Profile)
2. ดำเนินการประเมินความเสี่ยงโดยวิเคราะห์ทั้งผลกระทบ (Impact) และโอกาส (Likelihood) ที่ความเสี่ยงจะเกิด
มีแผนที่ความเสี่ยง (Risk Map) ที่แสดง “ความเสี่ยงซึ่งวิกฤติ”
3. จัดลำดับความเสี่ยง (Risk Prioritisation) โดยนำผลการวิเคราะห์ในขั้นที่ 2 มาวิเคราะห์ร่วมกับความสามารถ/โอกาสในการปรับปรุงความเสี่ยงและกรอบเวลาดำเนินการ
ได้รายการของความเสี่ยงที่จะนำไปจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง (Risk Management/Response Plan)
การวิเคราะห์โอกาสและผลกระทบของความเสี่ยง
ผลหรือระดับของผลกระทบหากความเสี่ยงเกิดขึ้นจริง
(Impacts)
โอกาส/ความน่าจะเป็น/แนวโน้มที่จะเกิดความเสี่ยง (Probabilities/Likelihood)
เชิงกึ่งคุณภาพมีการกำหนดค่าให้กับ Ranking Scale แต่ไม่ใช่ค่าจริงๆ ของความเสี่ยง
ระดับของความเสี่ยง
มีการกำหนดค่าที่เป็นตัวเลขซึ่งสะท้อน
การวิเคราะห์เชิงปริมาณ:
ในส่วนราชการ
เชิงคุณภาพ : ใช้คำพูดอธิบาย
โอกาส และผลกระทบ
การจัดทำ Risk Map : Risk/Tolerance Matrix
ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
ผลกระทบ
ความน่าจะเป็น/โอกาส
การจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง (Risk Prioritisation)
ลำดับความสำคัญของความเสี่ยงในส่วนราชการ
1. การประเมินประสิทธิผลของการควบคุมความเสี่ยงในปัจจุบัน
2. โอกาสและความสามารถที่จะปรับปรุงการบริหารความเสี่ยง
3. ระยะเวลาที่จะสามารถเริ่มลงมือปฏิบัติ
ขั้นตอนที่ 3 การจัดการกับความเสี่ยง (Risk Responses)
หลักการจัดการกับความเสี่ยง (Address Risk Responses)
ลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง
แสวงหาประโยชน์จากความเสี่ยง
ลดผลกระทบของความเสี่ยง
หลักการจัดการกับความเสี่ยง (Addressing Risk Responses)
การยอมรับความเสี่ยง (Tolerate)
ยอมรับให้มีความเสี่ยงบ้าง เพราะต้นทุนการจัดการความเสี่ยง
อาจไม่คุ้มกับผลประโยชน์ที่อาจจะเกิดขึ้น
การจัดการควบคุมความเสี่ยง
(Treat and Control)
มิใช่การขจัดความเสี่ยงให้หมดไป (Obviate) แต่ควบคุม (Contain) ทั้งโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่รับได้
การแบ่ง/ผ่องถ่ายความเสี่ยง (Share/Transfer)
ผ่องถ่ายให้บุคคลที่สามร่วมรับความเสี่ยง เช่น การประกันภัย
การยกเลิก/สิ้นสุดกิจกรรมที่มีความเสี่ยง (Terminate)
ความเสี่ยงบางอย่างอาจควบคุมได้ ด้วยการยกเลิกเป้าหมาย โครงการ งานหรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยง
การฉวยโอกาสจากสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง (Take the Opportunity)
ความเสี่ยงบางอย่างอาจนำมาซึ่งโอกาสในการบริหารจัดการ
การจัดการความเสี่ยงกับการควบคุมภายใน
􀂈 การจัดการความเสี่ยง มีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนความไม่แน่นอน (Uncertainty) ให้เป็นผลประโยชน์ (Benefits) ของส่วนราชการ โดยฉกฉวยโอกาสที่เกิดขึ้น
􀂈 มาตรการหรือการกระทำทุกอย่างของส่วนราชการในการจัดการความเสี่ยง ถือเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมภายใน
รูปแบบของการควบคุม
-การกำหนดให้ทำตามหลัก กฎเกณฑ์ และกระบวนการที่กำหนดไว้ เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง เช่น ชุดทำงานในที่อันตราย การฝึกอบรมก่อนทำงาน
-การควบคุมที่มุ่งผลกระทบอันไม่พึงประสงค์ให้เหลือน้อยที่สุด เช่น การเซ็นเช็ค การสั่งจ่าย การให้สัมภาษณ์
การควบคุมที่มุ่งค้นหาว่า ผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์นั้น เกิดขึ้นมาได้อย่างไร เพื่อเป็นบทเรียนสำหรับอนาคต เช่น การตรวจนับสินค้า
รูปแบบของการควบคุม รายละเอียดคงคลัง
-การทบทวนหลังการนำนโยบายบางอย่างไปปฏิบัติ
-การควบคุมที่มุ่งแก้ไขผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ หรือ บรรเทาผลกระทบให้ทุเลาลง เช่น การเขียนเงื่อนไขในสัญญาให้มีการชดใช้ หากมีการจ่ายเงินเกิน หรือการประกันภัย
ขั้นตอนที่ 4 การจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง (Risk Management Plan)
องค์ประกอบของแผนบริหารความเสี่ยง
ชื่อความเสี่ยง
เขียนอธิบายสั้น ๆ ว่าประเด็นความเสี่ยงคืออะไร
ลำดับความเสี่ยงเพื่อการปฏิบัติ
ระบุลำดับคะแนน อาจใช้สีไฟจราจร
คะแนนลำดับความสำคัญ
ระบุคะแนนผลกระทบโอกาส การควบคุม การปรับปรุง และระยะเวลา
ประเภทของความเสี่ยง
ระบุว่าเป็นความเสี่ยงประเภทใด
พื้นฐานของความเสี่ยง
ระบุสาเหตุและผลกระทบต่อเป้าประสงค์ใด
การควบคุมความเสี่ยงในปัจจุบัน
ระบุแนวทางดำเนินการในปัจจุบัน
แผนปฏิบัติเพื่อควบคุมความเสี่ยง
ระบุแนวทางดำเนินงาน เป้าหมาย เวลา แผนสำรอง เจ้าภาพผู้รับผิดชอบ ผู้มีส่วนได้เสีย
ตัวชี้วัดความคืนหน้าและความสำเร็จ
ระบุว่าถ้าทำตามตัวชี้วัดแล้ว ความเสี่ยงลดลงหรือไม่
แนวทางการตรวจสอบและรายงาน
ระบุความคืบหน้าในการดำเนินการ (ร้อยละ)
ขั้นตอนที่ 5 การรายงานและทบทวนการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Review, Report & Presentation)
􀂈 เพื่อติดตามว่ารูปแบบของความเสี่ยง (Risk Profile) เปลี่ยนแปลงหรือไม่
􀂈 เพื่อให้มั่นใจว่าการบริหารความเสี่ยงนั้นได้ผลจริง หากพบปัญหาก็จะได้หามาตรการใหม่/ใช้มาตรการสำรองเพื่อจัดการกับความเสี่ยงหากจำเป็น
􀂈 เครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ในการทบทวน : แนวทางของกระทรวงการคลังอังกฤษ
􀂾 Risk Self Assessment (RSA)
􀂾 Stewardship Reporting : ผู้บริหารแต่ละระดับรายงานการบริหารความเสี่ยงของตนในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป ขึ้นไปยังหน่วยเหนือ (Upward Reporting)
􀂾 Risk Management Assessment Framework : Statement on Internet Control ซึ่งเป็น Public Statement เกี่ยวกับการทบทวนระบบการควบคุมภายใน
สามารถปฏิบัติตามแผนได้อย่างประสบความสำเร็จ และได้ผลตามที่ตั้งเป้าหมายในการลดความเสี่ยงทุกประการ
ประโยชน์ของการทบทวนการบริหารความเสี่ยง
􀂈 ทราบความเสี่ยงที่มีอยู่ในส่วนราชการ (Inherent Risk)
􀂈 ทราบความเสี่ยงที่ยังเหลืออยู่ แม้มีการจัดการความเสี่ยงแล้ว (Residual Risk)
􀂈 ตัดสินใจได้ว่าจะรับความเสี่ยงได้ในระดับใด (Acceptable Risk)
การสื่อข้อความและการเรียนรู้ (Risk Communication & Learning)
􀂈 เกิดขึ้นในทุกกระบวนการของการบริหารความเสี่ยง ไม่ใช่ขั้นตอนที่แยกต่างหาก
􀂈 ส่วนราชการต้องสื่อให้สมาชิกทุกคนในองค์กรทราบว่า
􀂾 ความเสี่ยงขององค์กรคืออะไร
􀂾 กลยุทธ์เกี่ยวกับความเสี่ยง (Risk Strategy) ขององค์กร คืออะไร
􀂾 ลำดับความสำคัญของความเสี่ยง (Risk Priority)
􀂾 บทบาทของ Risk Owners
􀂈 เรียนรู้จากผลการบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้น
การปรับกระบวนทัศน์ด้านการบริหารความเสี่ยง
กระบวนทัศน์เดิม
กระบวนทัศน์ใหม่
แยกส่วน
บูรณาการ
ทำเป็นครั้งคราว
ทำอย่างต่อเนื่อง
เน้นในมุมแคบ
เน้นในมุมกว้าง
เน้นการควบคุมกระบวนการ
เน้นการบรรลุยุทธศาสตร์
4Cs เพื่อความสำเร็จในการบริหารความเสี่ยง
􀂈 เป้าหมาย (Common Goals)
􀂈 การติดต่อสื่อสาร (Communications)
􀂈 มุ่งมั่น (Commitment)
􀂈 การประสานงาน (Co-ordination)
******************************************
อ้างอิง
http://www.onab.go.th/e-Books/RegulateExaminer/RegulateExaminer10.pdf
...........................................................................
เตรียมสอบภาค ก วันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ศูนย์พัฒนามูลนิธิอีสาน(ศูนย์เน็ต) อ.เมือง จ.สุรินทร์

วันที่ 7-8 มีนาคม 2552 ที่สำนักงานเ ขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เ ขต 1
สนใ จ ติดต่อ ผอ.โ จ้ ในบล็อก หรือ โทร Sub-Admin1 089 204 2943 suntha at thaimail.com

1 comment:

แปลเอกสาร said...

สู้ สู้ เพื่อความสำเร็จ