Tuesday, February 17, 2009

เตรียมสอบภาค ก การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

การบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์*
(Results Based Management - RBM)

เมธินี จิตติชานนท์
ผู้อำนวยการกองฝึกอบรม
สำนักงานประกันสังคม

สถานการณ์ปัจจุบันนี้ทุกท่านคงทราบดีว่าเราอยู่ในช่วงของการพัฒนาระบบราชการ ทำไมถึงต้องมีการพัฒนา เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลง โลกไร้พรมแดนที่เรียกว่า โลกาภิวัตน์ การติดต่อสื่อสารไปมาได้รวดเร็ว ใครทำอะไรที่ไหนเราก็รู้ได้โดยรวดเร็ว หากเป็นเรื่องที่ดีเราก็จะเลียนแบบและทำตาม เพราะฉะนั้น ตัวแรกที่ก่อให้เกิดการพัฒนาระบบราชการไทยคือ โลกาภิวัตน์ ตั้งแต่ปี 2540 ช่วงที่เกิดเศรษฐกิจวิกฤตทำให้เราต้องหันกลับมาทบทวนดูว่า ราชการไทยจะยังคงดำเนินต่อไปในรูปแบบเดิมได้หรือไม่ ในช่วงนี้เมื่อเกิดสถานการณ์เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมาเราขยับตัวไม่ทันทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรุนแรง นี้คือ ปัจจัยตัวที่ 2 ส่วนปัจจัยที่ 3 เราจะเห็นได้ชัดเจนและเชื่อว่า กลุ่มพวกท่านจะสัมผัสอย่างชัดเจนที่สุดก็คือ ความต้องการมีส่วนร่วมของประชาชน ปัจจัยที่ 4 ความเข้มแข็งของภาคเอกชน ภาคเอกชนมีความเข้มแข็งกว่าภาคราชการมากเพราะเป็นผลจากโลกาภิวัตน์ การเรียนรู้ประสบการณ์ของต่างประเทศก็ไปได้เร็ว เพราะเราได้รับทราบข่าวสารจาก CNN ปัจจัยสุดท้ายคือ รัฐธรรมนูญใหม่ค่อนข้างชัดเจนว่า ภาครัฐต้องรู้จักการบริการที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน เหล่านี้คือที่มาของการพัฒนาระบบราชการไทย
การพัฒนาระบบราชการไทย
การพัฒนาระบบราชการไทยเว้นไม่ได้ที่จะต้องกล่าวถึง พระราชบัญญัติระเบียบบริหาร
ราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 ว่าด้วยเรื่องของมาตรา 3/1
มาตรา 3/1 ค่อนข้างกำหนดเป้าหมายในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องดำเนินการไปโดยคำนึงถึง ประโยชน์สุขของประชาชน จะต้องดำเนินการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อ
ภารกิจของรัฐ ภารกิจใด ๆของรัฐก็ตามจะต้องทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ให้จงได้ รวมทั้งการใช้ทรัพยากรต่าง ๆจะต้องคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ ส่วนที่สำคัญต่อไปคือ ขั้นตอนในการทำงานทั้งหลายทำอย่างไรจะลดลงให้ได้ ปี 2550 ซึ่งเป็นช่วงรอยต่อของแผนพัฒนาระบบราชการไทย เขาบอกว่า ในกระบวนการทั้งหลายที่แต่ละหน่วยราชการมีนั้นจะต้องปรับลดขั้นตอนการปฏิบัติงานให้ได้ครึ่งหนึ่ง สมมุติว่าเรามีอยู่ 20 กระบวนการ ภายในปี 2550 จะต้องลดให้ได้ 10 กระบวนการ นี้คือ
เป้าหมายการลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็นก็อาจจะเกิดขึ้นได้ และในวันพรุ่งนี้จะมีการแถลงผลการพัฒนาระบบราชการไทยครบ 2 ปี ที่หอประชุมกองทัพเรือ

*ถอดเทปการบรรยายและเอกสารประกอบการบรรยายจากหลักสูตรนายอำเภอรุ่นที่ 56 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2547
เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ โรงเรียนนายอำเภอ วิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย


นอกจากนี้ยังจะต้องมองการกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น ตรงนี้มีเป้าหมายอยู่แล้วว่าเราจะกระจายงบประมาณให้ท้องถิ่น เพราะยังทำได้ไม่เต็มที่ การกระจายอำนาจการตัดสินใจจะเห็นว่า ผู้ว่า CEO จะได้รับมอบอำนาจมากขึ้นจากระดับกรม ฯ จากส่วนกลาง เรื่องต่อมาคือ การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน และสุดท้ายคือ มีความรับผิดชอบต่อผลของงาน และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย
เมื่อมีพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้ว สำนักงาน ก.พ.ร. ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยไว้ 7 ยุทธศาสตร์ดังนี้คือ
การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน
การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน
การปรับรื้อระบบการเงินและการงบประมาณ
การสร้างระบบบริหารบุคคลและค่าตอบแทนใหม่
การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม
การเสริมสร้างราชการให้ทันสมัย
การเปิดระบบราชการ ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน
เป็นการวางเงื่อนไขให้ส่วนราชการต่าง ๆนำระบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์มาประยุกต์ใช้อย่างจริงจัง โดยให้มีการทำยุทธศาสตร์และแผนดำเนินงานอย่างเป็นระบบ มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับนโยบายและเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของรัฐบาล โดยให้มีการกำหนดตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมและสามารถวัดผลได้ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับองค์การ(Organization Scorecard) ลงไปจนถึงระดับตัวบุคคล (Individual Scorecard) รวมถึงให้แต่ละส่วนราชการจัดให้มีการรายงานผลสัมฤทธิ์รายปี เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะ เพราะฉะนั้นต่อไป เขาจะมี KPI (Key Performance Indicator) ตัวชี้วัด ระดับบุคคล ก่อนจะข้ามไปถึงเรื่อง RBM ขอพูดถึงกรอบของกระบวนการในการเปลี่ยนแปลงมี ขั้นตอนของการทำงานในปัจจุบันอยู่ 3 ขั้นตอนดังนี้คือ
ขั้นที่ 1 การละลาย Unfreezing
แจ้งการเปลี่ยนแปลง
จงใจพนักงานให้ยอมรับการเปลี่ยนแปลง
ละลายพฤติกรรม ค่านิยม และทัศนคติ
ขั้นที่ 2 การเปลี่ยนแปลง (Moving)
ปฏิบัติตามการเปลี่ยนแปลง
แนะนำความรู้ใหม่ รูปแบบพฤติกรรมใหม่ ค่านิยมและความเชื่อถือใหม่
ละลายพฤติกรรม ค่านิยม และทัศนคติ
ขั้นที่ 3 การก่อรูปใหม่ Refreezing
เสริมและสนับสนุนรูปแบบใหม่
ทำให้การเปลี่ยนแปลงมั่นคงและจัดให้มีขั้นในองค์การ
ละลายพฤติกรรม ค่านิยม และทัศนคติ
ทั้ง 3 ขั้นตอนนี้จะนำไปสู่การทำงานในอนาคต(Future performance)
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในการทำงานแล้วเรายอมรับกันหรือเปล่า หากยอมรับบางส่วนก็จะมีการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นไม่ว่าจะอยู่ไหนก็ตาม สาเหตุการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงนักวิชาการได้รวบรวมและสรุปไว้ดังนี้ คือ
การเปลี่ยนแปลงนั้นทำให้ผลประโยชน์ส่วนตัวขาดหายไปที่เคยได้มากอาจจะลดลง บางเรื่องได้มากขึ้นแต่ก็ต่อต้านได้
การขาดความเข้าใจและความเชื่อถือ ไม่เข้าใจว่าหลังจากการเปลี่ยนแปลงแล้วทำอะไรดีขึ้น
ความไม่แน่นอน การเปลี่ยนแปลงในช่วงของการละลายไปสู่การเปลี่ยน เพราะอาจไม่แน่นอนเหมือนกัน ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเปลี่ยนแล้วมันจะเป็นอย่างไร ยึดตามแนวนี้ได้ไหมหรือจะต้องเปลี่ยนวิธีการใหม่อีก
การรับรู้ที่แตกต่างกัน
ทั้ง 4 สาเหตุของการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงนี้นำไปสู่วิธีการที่จะจัดการกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง
การให้การศึกษาและการติดต่อสื่อสาร
การมีส่วนร่วม ลดแรงต่อต้านได้
การอำนวยความสะดวกและการสนับสนุน ให้กับผู้ที่ต่อต้านนั้น เช่น เขาไม่พอใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมาก็ต้องใช้วิธีจับเข่าคุยกัน เป็นการอำนวยความสะดวกให้ไม่ได้ปฏิเสธเขา
การเจรจาต่อรอง หลักของการเจรจาต่อรองพยายามให้ฝ่ายตรงข้ามเปิดเผยจุดยืนของเขาก่อนเพื่อนำไปปรับใช้
การแทรกแซง ส่งใครก็ได้เข้าไปเจรจาต่อรอง
การบังคับ การทำงานโดยวิธีการบังคับนั้นสำเร็จแต่ไม่ได้ใจเขา

แนวคิด หลักการ และรูปแบบของการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
เป็นเทคนิควิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่นำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และวิธีการบริหารงานภาครัฐไปจากเดิมที่ให้ความสำคัญต่อทรัพยากรหรือปัจจัยนำเข้า (input) และอาศัยกฏระเบียบ เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความถูกต้อง สุจริตและเป็นธรรม โดยหันมาเน้นถึงวัตถุประสงค์และสัมฤทธิ์ผลของการดำเนินงานทั้งในแง่ของผลผลิต(Output) และผลลัพธ์ (Outcome) และความคุ้มค่าของเงิน (Value for money) รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพและสร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชน ผู้รับบริการ
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Results Based Management - RBM)
แยกออกเป็น ผลสัมฤทธิ์ = ผลผลิต + ผลลัพธ์
(RESULTS) (OUTPUTS) (OUTCOMES)
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์คืออะไร
คือ วิธีการบริหารจัดการที่เป็นระบบมุ่งเน้นที่ผลสัมฤทธิ์หรือผลการปฏิบัติงานเป็นหลัก โดยมีการวัดผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ที่มาของการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
มาจากแนวคิดของการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management : NPM ) (3 E) ที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อ
ความประหยัด (Economy) การใช้ต้นทุนหรือทรัพยากรการผลิตอย่างเหมาะสม และมีความคุ้มค่าที่สุด
ประสิทธิภาพ (Efficiency) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้ได้ผลงานในระดับที่สูงกว่าปัจจัยนำเข้า
ประสิทธิผล (Effectiveness) ประสิทธิผลการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

กรอบแนวคิดเรื่อง การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
ผลสัมฤทธิ์

ความประหยัด ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
และการบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์นั้นต้องใช้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีด้วย (ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542) โดยมีหลักปฏิบัติ 6 ประการ แต่การบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์นั้นนำมาใช้เพียง 4 หลักปฏิบัติตั้งแต่ข้อ 3 ถึง ข้อ 6
1.หลักนิติธรรม (Rule of Law) หมายถึง การตรากฎหมายที่ถูกต้องเป็นธรรม การบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย การกำหนดกฎ กติกาและการปฏิบัติตามกฎ กติกาที่ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัดโดยคำนึงสิทธิ เสรีภาพ ความยุติธรรมของสมาชิก
2. หลักคุณธรรม (Ethics) หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม การส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อม ๆกัน เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจำชาติ
3. หลักความโปร่งใส (Transparency) หมายถึง การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติโดยปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรทุกวงการให้มีความโปร่งใส
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หมายถึงการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะการประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติหรืออื่น ๆ
5. หลักความรับผิดชอบ (Accountability) หมายถึง การตระหนักในสิทธิหน้าที่ความสำนึกในหน้าที่รับผิดชอบ ตลอดจนการเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง และความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากการกระทำของตน เช่น รับผิดชอบต่อลูกค้า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องยอมรับต่อผลการดำเนินการ
6. หลักความคุ้มค่า (Utility) หมายถึงการบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้อย่างคุ้มค่าสร้างสรรค์สินค้า และบริการที่มีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และรักษาพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน RBM : Results เกี่ยวข้องกับทุกกระบวนการของการบริหาร ได้แก่
Plan ต้องกำหนดวัตถุประสงค์/เป้าหมายชัดเจน (ต้องการผลสัมฤทธิ์อะไร)
Do ปฏิบัติมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่วางแผนไว้
Check วัดว่าปฏิบัติได้ผลสัมฤทธิ์ตามที่วางแผนหรือไม่ (KPI ชัดเจน)
Act ปรับปรุงแก้ไขให้ได้ผลสัมฤทธิ์ตามที่วางแผนไว้
การติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Monitoring)
เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งเพราะเรื่องนี้
เป็นกระบวนการวัดผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
เป็นการกำกับ ตรวจสอบการใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติงาน
สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโครงการของรัฐได้
ประโยชน์ของการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
กระตุ้นให้เกิดการสื่อสารระหว่างกัน
ปรับปรุงการกำหนดนโยบาย
สามารถแสดงภาพรวมของสถานภาพ
สนับสนุนการวิเคราะห์แนวโน้มผลการปฏิบัติงาน
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ เกี่ยวข้องกับการกำหนด
วิสัยทัศน์
พันธกิจหรือภารกิจ
ปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ
ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก
วิสัยทัศน์ (Vision)
คือ ภาพที่องค์การต้องการจะเป็นหรือเป็นเป้าประสงค์โดยรวมที่องค์การต้องการ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต
พันธกิจ (Mission)
เป็นหลักการพื้นฐานจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งองค์การและขอบข่ายการดำเนินงานขององค์กร
ปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ (Critical Success Factor)
“สิ่งที่เราต้องการทำให้มีหรือให้เกิดขึ้นเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กรคืออะไร”
ถ้าหากว่า เรากำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กรไว้แล้ว การที่เราจะบรรลุวิสัยทัศน์นั้นเราต้องทำอะไรบ้างหรือมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง องค์กรจึงจะบรรลุวิสัยทัศน์ ฉะนั้นจึงต้องมีเกณฑ์การกำหนดปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ ดังนี้
เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์โดยมุ่งความสำคัญที่ผลผลิตและผลลัพธ์
เชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ขององค์กร
มีความเฉพาะเจาะจงและสามารถเข้าใจได้
เป็นที่ยอมรับจากระดับผู้บริหาร
อยู่ภายใต้อิทธิพลการควบคุมขององค์กร
ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก (Key Performance Indicator)
“เราจะวัดความก้าวหน้าของการบรรลุปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จได้อย่างไร”
ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก คือสิ่งที่สะท้อนว่า เราจะวัดอะไร อะไรที่แสดงถึงความก้าวหน้าของเรา ในการกำหนดตัวชี้วัดมีข้อที่จะต้องคำนึงถึงเช่นกันว่า เวลากำหนดขึ้นมานั้นจะต้องรับได้ไหม วัดได้จริง ๆไหมแล้วจะต้องทำได้ และบรรลุได้ ทำความเข้าใจได้ ตรวจสอบได้ วัดได้ภายในเวลาที่กำหนด หากจะจำง่าย ๆนั้นก็คือ SMART เป็นการกำหนดตัวชี้วัด
เกณฑ์การกำหนดตัวชี้วัด
สามารถวัดผลการปฏิบัติงานได้จริง
สามารถบรรลุได้ มีความสมเหตุสมผลที่จะใช้เป็นตัวชี้วัด ไม่วัดในสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากความสามารถของส่วนราชการ
สามารถสื่อสารทำความเข้าใจได้ตรงกัน มีความเฉพาะเจาะจง
สามารถตรวจสอบได้
สามารถวัดผลได้อย่างเท่าเทียมกัน ผลงานเหมือนกันควรใช้ตัวชี้วัดเดียวกัน
สามารถวัดผลการปฏิบัติงานภายในเวลาที่กำหนด
ความหมายของคำว่า Smart มีดังนี้
S pecific - เฉพาะเจาะจง ชัดเจน
M easurable - สามารถวัดได้
A chievable - สามารถบรรลุได้
R ealistic - สอดคล้องกับความเป็นจริง
T imely - วัดได้เหมาะสมตามช่วงเวลาที่กำหนด
การกำหนดตัวชี้วัดต้องกำหนดอย่าง SMART พอเป็นตัวชี้วัดแล้วก็ต้องมาดูการแสดงค่าให้ชัดเจน ดังนั้น ตัวชี้วัดที่ชัดเจนที่ดีจะต้องแสดงค่าที่แสดงออกมาเป็นตัวเลขอันใดอันหนึ่ง เช่น เป็นร้อยละ (Percentage) อัตราส่วน (Ratio) ค่าเฉลี่ย (Average or Mean) จำนวน ( Number) อัตรา
(Rate) และสัดส่วน (Proportion)
บทเรียนจากประสบการณ์
ตัวอย่างการทำงานเรื่องการบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานประกันสังคมพอสรุปได้ดังนี้
ประโยชน์ของ RBM ที่ผู้บริหารนำมาใช้ในราชการ มีดังนี้
เป็นเครื่องมือในการติดตามงาน
เป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากร
ผู้บริหารระดับสูงจะทราบว่าองค์กรอยู่ ณ ตำแหน่งใด
สนับสนุนให้องค์กรมีวิสัยทัศน์
ข้อเสนอแนะในการนำระบบนี้มาใช้
บุคลากรมีความเข้าใจ
ลดความยุ่งยากในการเก็บข้อมูลการประมวลผล
กำหนดตัวชี้วัดที่สำคัญ
ผู้บริหารเห็นความสำคัญนำไปใช้ประโยชน์
มีทีมงานที่มีความสามารถ
ปัญหาและแนวทางแก้ไข
ปัญหาที่พบ
ความไม่เข้าใจของเจ้าหน้าที่
ปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น (เก็บข้อมูลทุกวัน)
การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน

แนวทางแก้ไข
จัดอบรมสัมมนาปีละ 2 ครั้ง
ทำเอกสารคู่มือ VDO ออกติดตามงาน
ตั้งทีมงาน กระจายงาน เฉพาะงานที่จำเป็น
ประชุมวิเคราะห์ผลร่วมกัน
มีประโยคที่น่าสนใจอยู่ 3 ประโยคฝากไว้สำหรับผู้ที่จะก้าวเป็นนักบริหารในอนาคตต่อไป
1. If you can’ t measure, you can’ t manage วัดไม่ได้ บริหารไม่ได้
2. If you can’ t measure, you can’ t improve วัดไม่ได้ พัฒนาไม่ได้
3. What gets measured, gets done สิ่งไหนที่วัด สิ่งนั้นคนจะสนใจ
ตอนท้ายของเรื่อง การบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์นั้นจะสำเร็จได้ต้อง มีพื้นฐานของการสื่อสารที่ดี การมีส่วนร่วม และการมีความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จของบุคลากร โดยมีขั้นตอนดังนี้
การเตรียมการพัฒนาระบบ RBM
การพัฒนาระบบ RBM
การติดตามและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ทั้ง 3 ข้อ เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วจะเป็นการสร้างวัฒนธรรมการบริหารผลการปฏิบัติงานได้ต่อไป
เป้าหมายในการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมข้าราชการใหม่มี ดังนี้
ภาษาอังกฤษใช้คำว่า I AM READY ย่อมาจาก
* I (Intergrity) การทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี
* A (Activeness) ขยัน ตั้งใจทำงาน
* M (Moral) มีศีลธรรม
* R (Relevancy) มีการเรียนรู้และปรับตัวให้ทันกับปัญหา
* E (Efficiency) การทำงานที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพ
* A (Accountability) การมีความรับผิดชอบต่อผลงาน
* D (Democracy) มีใจและการกระทำที่เป็นประชาธิปไตย
* Y (Yield) มีผลงานเป็นที่ประจักษ์และปฏิบัติงานโดยเน้นผลสัมฤทธิ์
จากการบรรยายดังกล่าวนั้นหวังว่าทุกท่านจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และนำไปปฏิบัติให้เกิดความคล่องตัวขึ้นได้ในอนาคตและเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับประสบการณ์การเรียนรู้เรื่อง การบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ ขอขอบคุณ
*************************
ถอดเทปการบรรยาย/รวบรวม/พิมพ์โดย
นางพรรณธิภา ธนสันติ นพบ. 6
วิทยาลัยการปกครอง

Monday, February 16, 2009

การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ.2551-2555

ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย
วิสัยทัศน์ใหม่ของการพัฒนาระบบราชการ
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้กำหนดวิสัยทัศน์ใหม่ของการพัฒนาระบบราชการ ในช่วงระยะปี พ.ศ. 2551 -พ.ศ.2555 ไว้ดังต่อไปนี้
“ ระบบราชการไทย มุ่งเน้นประโยชน์สุข ของประชาชนและรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ มีขีดสมรรถนะสูง สามารถเรียนรู้ ปรับตัวและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง ยึดมั่นในหลักจริยธรรมและธรรมาภิบาล”

ระบบราชการไทยเป็นกลไกของรัฐที่มีความสำคัญอย่างสูงต่อการบริหารกิจการบ้านเมืองภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยเฉพาะการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาล การอำนวยความสะดวกและให้บริการประชาชน รวมถึงการดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย อันมีจุดหมายปลายทางเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติระบบราชการไทยที่พึงประสงค์จะต้องให้คุณค่าความสำคัญและยึดมั่นในปรัชญา หลักการ และแนวทางดังต่อไปนี้ระบบราชการไทยมุ่งเน้นประโยชน์สุของประชาชนและรักษาผลประโยชน์องประเศชาติมีขีดรรถนะส􀂎 ต้องให้ประชาชนเป็น “ศูนย์กลาง” ในการทำงานโดยต้องรับฟังความคิดเห็น ตอบสนองความต้องการและอำนวยประโยชน์ ลดขั้นตอนและภาระในการติดต่อของประชาชน มีระบบการแก้ไขปัญหาและรับเรื่องราวร้องทุกข์ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนเป็นที่พึ่งของประชาชนในยามมีปัญหาและความเดือดร้อน
􀂎 ปรับเปลี่ยนบทบาทของระบบราชการให้เป็นผู้สนับสนุนและอำนวยความสะดวก ไม่เป็นผู้ดำเนินการเสียเองหรือคงมีอำนาจมากจนเกินไป รวมทั้งต้องมีขนาดกำลังคนและใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม ไม่พยายามเข้าแทรกแซงและขยายตัวเกินไปจนเป็นภาระของประเทศหรือมีผลกระทบต่อภาคส่วนอื่นและสิทธิเสรีภาพของประชาชน
􀂎 ประสานการทำงานกับผู้บริหารราชการแผ่นดินฝ่ายการเมืองเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศสามารถให้ความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเชิงนโยบายอย่างมีเหตุผล ตั้งมั่นในความถูกต้อง เป็นกลาง ปราศจากอคติ และอยู่บนพื้นฐานของหลักจรรยาบรรณวิชาชีพนอกจากนี้ยังควรต้องให้การยอมรับและไม่เข้าไปแทรกแซงบทบาทและอำนาจหน้าที่ซึ่งกันและกันมีความพร้อมและทัศนคติในการทำงานเป็นทีมสามารถสร้างเครือข่ายร่วมมือกับภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคมรวมทั้งยังต้องสามารถบูรณาการและเชื่อมโยงการทำงานภายในระบบราชการเองในทุกระดับเข้าด้วยกัน
􀂎 มีขีดความสามารถในการรับรู้ เรียนรู้ มองไปข้างหน้าและคาดการณ์ล่วงหน้า มีความยืดหยุ่นคล่องตัวรวดเร็ว สามารถคิดริเริ่มและสร้างนวัตกรรม (agility)รวมถึงการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อขับเคลื่อนและปรับตัวได้อย่างราบรื่นเหมาะสม ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนของสภาพแวดล้อม
􀂎 สร้างระบบธรรมาภิบาลในการกำกับดูแลตนเองที่ดีเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและความเชื่อมั่นศรัทธา เปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ลดการใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจ รวมทั้งต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นแบบอย่างของการประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายไม่ใช่เป็นผู้สร้างปัญหาหรือภาระแก่สังคมเสียเอง
􀂎 มีความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานและสร้างคุณค่าต่อสังคม ในการทำงานและการตัดสินใจต้องอาศัยข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้อง แน่นอน และทันกาล โดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ในการทำงานรวมทั้งต้องมีเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจนและสามารถตรวจสอบวัดผลสัมฤทธิ์ได้
􀂎 แสวงหา พัฒนาและธำรงรักษาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถค่านิยมและกระบวนทัศน์อัน
เหมาะสมและเอื้อต่อการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ตลอดจนทำ ให้บุคลากรในระบบราชการตั้งมั่นอยู่ใน
ศักดิ์ศรีและจรรยา สามารถแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตนจากหน้าที่ทางการงาน ไม่แสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นในทางมิชอบ
ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ
ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยในช่วงระยะปี พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555
สามารถแยกออกได้เป็น 4 ประการ ดังนี้
1. ยกระดับการให้บริการและการทำงาน เพื่อตอบสนองความคาดหวังและความต้องการ
ของประชาชนที่มีความสลับซับซ้อน หลากหลายและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
2. ปรับรูปแบบการทำงานให้มีลักษณะเชิงบูรณาการ เกิดการแสวงหาความร่วมมือและสร้าง
เครือข่ายกับฝ่ายต่าง ๆ รวมทั้งเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
3. มุ่งสู่การเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง บุคลากรมีความพร้อมและความสามารถ ในการ
เรียนรู้ คิดริเริ่ม เปลี่ยนแปลงและปรับตัวได้อย่างเหมาะสมต่อสถานการณ์ต่าง ๆ
4. สร้างระบบการกำกับดูแลตนเองที่ดี เกิดความโปร่งใส มั่นใจ และสามารถตรวจสอบได้
รวมทั้งทำให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อประชาชนและต่อสังคมโดยรวม
การนำยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยไปสู่การปฏิบัติ
ระบบราชการไทยมีขนาดค่อนข้างใหญ่และมีความซับซ้อนค่อนข้างมาก การนำยุทธศาสตร์
ไปปฏิบัติแบบก้าวเดินไปพร้อมกันทั้งระบบอาจไม่เห็นผลการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดใน
ระยะเวลาสั้นๆ ได้ แม้ว่าจะได้มีการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ครั้งใหญ่ไปแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2545
แต่ก็พบว่าการจัดระเบียบโครงสร้างการบริหารราชการของฝ่ายพลเรือนก็ยังคงติดยึดกับแนวความคิด
ที่ต้องการให้ระบบราชการมีความเป็นหนึ่งเดียวเพื่อให้สามารถยึดโยงเปรียบเทียบกันได้ หรือต้องมี
ลักษณะเป็นระเบียบแบบแผนที่เหมือนกัน ไม่ได้แยกแยะและออกแบบให้มีความแตกต่างกัน ทั้งใน
แง่ของมิติลักษณะธรรมชาติงาน เช่น งานประเภทนโยบาย งานประเภทกำกับควบคุม งานประเภท
บริการ งานขับเคลื่อนนโยบายพิเศษของรัฐบาล หรือในแง่ของมิติกลุ่มผู้รับบริการ เช่น ธุรกิจเอกชน
ผู้มีรายได้จากการทำงานประจำ ประชาชนผู้ยากจนและด้อยโอกาส เป็นต้น ทำให้เกิดข้อจำกัดในการ
ปฏิบัติงานที่ต้องตอบสนองความหลากหลายดังกล่าว
กล่าวอีกนัยหนึ่ง มีความจำเป็นต้องเปิดให้มีการสร้างระบบย่อย (Sub-systems) ในระบบ
ราชการ โดยเฉพาะการศึกษาเชิงลึกเพื่อให้เห็นสภาพปัญหาอุปสรรคและวางแนวทางการจัดระบบ
เพื่อปรับปรุงการทำงานของแต่ละระบบย่อยให้มีความเหมาะสม ซึ่งอาจมีรูปแบบและลักษณะการ
บริหารงานเป็นการเฉพาะของตนเอง ทั้งในแง่ของโครงสร้างองค์การ ระบบงาน กฎระเบียบ การ
บริหารงานบุคคลและการงบประมาณ รวมถึงการวัดผลการดำเนินงาน ทั้งนี้ เพื่อให้มีความยืดหยุ่น
คล่องตัวทางการบริหาร เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม สามารถคิดริเริ่มและตอบสนองต่อความท้าทาย
ในด้านต่างๆ อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์
การพัฒนาระบบราชการในก้าวต่อไปนั้น จึงจำเป็นต้องยอมรับความแตกต่างหลากหลายไม่
พยายามดึงให้เข้ามาอยู่ในระเบียบแบบแผนเดียวกันทั้งหมด รวมทั้งจะต้องไม่ตั้งสมมติฐานว่า
หน่วยงานราชการจะต้องเป็นผู้ดำเนินการทุกอย่างเอง หรือพยายามปรับปรุงให้ระบบราชการมีขีด
สมรรถนะสูงในภารกิจงานที่ไม่ควรดำเนินการเองอีกต่อไปแล้ว นอกจากนี้ยังอาจต้องใช้ยุทธวิธี
ดำเนินการแบบคู่ขนานทั้งในแง่ของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้เคลื่อนตัวไปพร้อมกันทั้งหมดและ
การเลือกเน้นบางจุดมาดำเนินการพัฒนาให้บังเกิดผลก่อน
ฉะนั้น ในช่วงระยะประมาณ 6 เดือนแรกของการนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ
ไทย (พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555) ไปสู่การปฏิบัตินั้น ก.พ.ร. จะประสานการดำเนินงานร่วมกับ
หน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
􀂂 ทบทวนบทบาทและภารกิจของภาครัฐในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม
ของประเทศและของโลก ดังรายละเอียดปรากฏตามแผนภาพที่ 3 รวมถึงการสอบทาน
พันธกิจและอำนาจหน้าที่ โครงสร้างและระบบงาน ผลสัมฤทธิ์ การใช้ทรัพยากรและ
อัตรากำลังของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในทุกระดับใหม่อีกครั้งหนึ่ง
โดยคำนึงถึงความคิดเห็นหรือความต้องการของประชาชน และความพร้อมของฝ่ายต่างๆ ที่จะรับถ่ายโอนภารกิจของภาครัฐไปดำเนินการแทน ทั้งนี้ การวิเคราะห์ดังกล่าวจะมุ่งเน้นให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกในประเด็นวาระที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ต่อการพัฒนาประเทศและการบริหารราชการแผ่นดิน เช่น ลอจิสติกส์ อาหารและสินค้าเกษตร การท่องเที่ยว การบริหารจัดการเรื่องทรัพยากรน้ำ
􀂂 หากมีความจำเป็นที่ภาครัฐยังคงต้องมีบทบาทและภารกิจอยู่ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการวางนโยบาย การกำกับควบคุม หรือการดำเนินงานเอง ก็จะมีการออกแบบระบบย่อย โดยนำกลยุทธ์ต่างๆ ตามที่ปรากฎในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย(พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555) อาทิเช่น การสร้างเครือข่าย การให้ประชาชนมีส่วนร่วมการเสริมสร้างขีดสมรรถนะและการกำกับดูแลตนเองที่ดี มาประยุกต์ใช้ให้มีความเหมาะสม
ปัจจัยเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการพัฒนาระบบราชการไทย
ในการนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555) ไปสู่การ
ปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จนั้น จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนเพื่อให้มีปัจจัยเกื้อหนุนรองรับหลาย
ประการ กล่าวคือ
1. การสร้างความเป็นเจ้าของในการบริหารการเปลี่ยนแปลง
􀂂 ต้องมีการเสริมสร้างภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับสูงในแต่ละหน่วยงานให้มีความ
สนใจและสนับสนุนในเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจัง รวมถึงการกำหนดให้มีผู้บริหารระดับสูง เช่น ตำแหน่งที่ปรึกษาการพัฒนาระบบบริหาร เพื่อทำหน้าที่และรับผิดชอบในการบริหารการเปลี่ยนแปลงเป็นการเฉพาะและปฏิบัติงานอย่างเต็มเวลาขึ้นในแต่ละส่วนราชการ
􀂂 กำ หนดให้แต่ละหน่วยงานต้องมีการวางเป้าหมายหรือปักหมุดที่พึงประสงค์
(Milestones) ในการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงองค์การ รวมทั้งดำเนินการจัดทำแผนที่นำทาง (Roadmap) ให้มีความชัดเจน ในรูปแบบของแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารราชการของกระทรวง ซึ่งมีความเชื่อมโยงและรองรับต่อยุทธศาสตร์การเสริมสร้างธรรมาภิบาล/การบริหารจัดการที่ดี หรือที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ในแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีของแต่ละกระทรวง
􀂂 ยกระดับความสำคัญและเสริมสร้างขีดความเข้มแข็งของกลุ่มพัฒนาระบบบริหารโดยเฉพาะในระดับกระทรวง ให้สามารถรับผิดชอบในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารราชการของกระทรวงสู่การปฏิบัติได้อย่างบรรลุผลโดยเฉพาะการบูรณาการและเชื่อมโยงหน่วยงานภายในของกระทรวง รวมทั้งเป็นเครือข่ายในการพัฒนาระบบราชการ
􀂂 ต้องมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อลงทุนในการพัฒนาองค์การและทรัพยากรบุคคล
ให้แก่แต่ละหน่วยงานอย่างเหมาะสมและเพียงพอ โดยยึดตามแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารราชการดังกล่าวข้างต้นเป็นหลัก
2. การร่วมเป็นเจ้าภาพในการพัฒนาระบบราชการ
􀂂 ส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการของตน ให้
สามารถเทียบเคียงสมรรถนะกับภาคเอกชน หรือหน่วยงานในภาครัฐที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า หรือองค์กรที่เป็นผู้นำ ที่เป็นกรณีศึกษาที่เป็นตัวอย่างดำเนินการ (Best Practices) เพื่อเป็นพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ ร่วมกับ ก.พ.ร. ซึ่งอาจจะมาจากการลงทุนสร้างหรือเสาะแสวงหา “หน่วยงานต้นแบบ” ซึ่งมีการคิด
ริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ หรือสามารถดำเนินการด้านใดด้านหนึ่งเป็นผลสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับหรือมีความเป็นเลิศ และนำมาใช้เป็นต้นแบบเพื่อการเทียบเคียง (Benchmarking)และเป็นศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ แหล่งทัศนศึกษา ดูงาน ในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการให้แก่หน่วยงานอื่นๆ ต่อไป
ทั้งนี้ ในบางกรณีอาจเป็นรูปแบบของการประกวดหรือแสวงหาหน่วยงานต้นแบบภายในกระทรวงเดียวกันเช่น โรงเรียนหรือโรงพยาบาล “ในฝัน” ขึ้นมาเป็นตัวต้นแบบสำหรับการเทียบเคียงก็ได้
􀂂 ส่งเสริมให้มีกลไกประสานและเชื่อมโยงการทำงานของหน่วยงานกลางเข้าด้วยกัน
เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีเอกภาพ รวมทั้งลดความซ้ำซ้อนและไม่สร้างภาระให้แก่ส่วนราชการจนเกินความจำเป็น
􀂂 แสวงหาความร่วมมือจากภาคธุรกิจเอกชนให้เข้ามาร่วมมือกับ ก.พ.ร. มากขึ้น เพื่อ
ช่วยถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ หรือเทคโนโลยีบางอย่างให้แก่ข้าราชการและหน่วยงานของรัฐ ในฐานะของการเป็นบรรษัทพลเมืองที่ดี (Good CorporateCitizenship) ซึ่งมีความรับผิดชอบต่อสังคม ตัวอย่างเช่น ในปัจจุบันเจ้าหน้าที่ผู้บริหารสูงสุดของหลายบริษัทได้ทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษา/พี่เลี้ยง เพื่อฝึกงาน
ให้แก่ข้าราชการในโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ (นปร.) เป็นต้น
􀂂 ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและองค์กรการพัฒนาระหว่างประเทศเพื่อสร้าง “ศูนย์
นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาระบบราชการไทย” ในการศึกษาวิจัย สร้างกรณีศึกษาต้นแบบ และแสวงหานวัตกรรมและความคิดริเริ่มใหม่มาปรับใช้กับการพัฒนาระบบราชการของไทย รวมถึงการเปิดให้ประชาชนและข้าราชการได้แสดงความคิดเห็นและข้อแนะนำในการปรับปรุงการทำงานของทางราชการ เช่น กรณีของการส่งเสริมมีโครงการ “ความคิดไร้ขีดจำกัด” (Ideas are free) โดยเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงาน
แสดงความเห็นอย่างอิสระ ซึ่งความคิดเห็นเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็สามารถเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญและนำไปสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์การขนานใหญ่ได้
เครื่องมือในการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติให้บังเกิดผล
1. การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง
􀂂 มีการสร้างความเข้าใจ กระตุ้น เร่งเร้า สื่อสาร ทำความเข้าใจกับข้าราชการในทุก
ระดับอย่างต่อเนื่องและจริงจัง โดยเฉพาะสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนให้กับกลุ่มข้าราชการ ประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง กระตุ้นให้เกิดการประสานเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างเป็นรูปธรรม สร้างความรู้สึกในการมีส่วนร่วม (Create emotional trigger)รวมทั้งสร้างความตื่นเต้นและการประสานงานอย่างสอดคล้องในระบบการทำงาน
และการให้บริการต่าง ๆ ผ่านกิจกรรมสื่อสารสร้างความเข้าใจ เช่น การฝึกอบรมการประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดสัมมนา การเดินสายเผยแพร่ พร้อมสื่อ เช่นโปสเตอร์ แผ่นพับ ซีดี นิตยสาร คู่มือ เพื่อนำไปสู่ความภาคภูมิใจและความเชื่อมั่นในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ สร้างความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาระบบราชการไทยต่อไป
􀂂 เพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้าราชการแต่ละบุคคลในทางตรงมากขึ้น รวมถึงการเปิดช่องทางการสื่อสารสองทางให้ข้าราชการได้ร่วมแสดงความคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์โดยเฉพาะระบบสื่อสารผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เช่น e-Newsletter, Weblog, Wikipedia, Webboard และการสำรวจแบบออนไลน์
􀂂 ปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรฝึกอบรมและพัฒนาข้าราชการให้มีความทันสมัยและรองรับ
ต่อการพัฒนาระบบราชการมากขึ้นและบังเกิดผลคุ้มค่าต่อการลงทุน ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของการพบปะเพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคมเท่านั้น ในการนี้ควรมุ่งเน้นความเข้มข้นทางวิชาการ วางระบบตรวจสอบและประกันคุณภาพ เน้นกรณีศึกษาและทดลองปฏิบัติงานจริงมากกว่าฟังการบรรยาย รวมทั้งพยายามให้การฝึกอบรม
และพัฒนาข้าราชการมีผลต่อการปรับเปลี่ยนค่านิยมและกระบวนทัศน์อย่างแท้จริง

2. ผลักดันพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ. 2546
􀂂 ให้มีการบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ
บ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 อย่างจริงจังและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของมาตรา 3/1แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 โดยเฉพาะส่งเสริมให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้รับการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในเรื่องธรรมาภิบาล ตามที่กำ หนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
􀂂 สำรวจและจัดให้มีการแก้ไขกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี กฎ ระเบียบ คำสั่ง ที่เป็น
อุปสรรคต่อการพัฒนาระบบราชการ/การให้บริการประชาชน หรือการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตามนัยของมาตรา 35 และมาตรา 36แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 โดยประสานความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ 2550
3. การสร้างแรงจูงใจ
􀂂 รักษาระบบการสร้างแรงจูงตามผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปของ
ตัวเงิน ได้แก่ การจัดสรรเงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้บริหารและเงินรางวัลสำหรับผู้ปฏิบัติงานประจำปี เงินงบประมาณเหลือจ่ายเพื่อนำมาจัดสรรเป็นสิ่งจูงใจ และในรูปที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น การให้เข้าร่วม ฝึกอบรม
ดูงาน หรือการเข้าร่วมประชุมระดับนานาชาติตามความต้องการสำหรับผู้บริหารการเลื่อนชั้นตราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้เร็วขึ้น การได้รับการเชิดชูเกียรติหรือได้ใบประกาศเกียรติคุณ นอกจากนี้ ควรให้ความสำคัญกับมาตรการเชิงลบอย่างจริงจังมากขึ้น เช่น การสับเปลี่ยนให้ไปดำรงตำแหน่งอื่นในกรณีที่ปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
4. เพิ่มบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนและสื่อมวลชนในการพัฒนาระบบราชการ กล่าวคือ
􀂂 ในส่วนของประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ทั้งในแง่ของบทบาทในฐานะเป็นผู้เฝ้าระวัง เช่น คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด (กธจ.) ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ซึ่งจะได้มีการขยายให้ครอบคลุมทุกส่วนราชการต่อไป และบทบาทในฐานะผู้ให้ข้อคิดเห็นป้อนกลับเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ และคุณภาพการให้บริการแก่ประชาชน เพื่อใช้เป็น
ข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนาการทำงานผ่านทางช่องทางต่างๆ
􀂂 ในส่วนของสื่อมวลชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้เช่นกัน โดยเฉพาะการเผยแพร่
ข้อมูลเกี่ยวกับความสำเร็จและ/หรือปัญหาอุปสรรคข้อขัดข้องในการปฏิบัติราชการและร่วมติดตามการทำงานของส่วนราชการ รวมทั้งเป็นสื่อกลางในการนำความคิดเห็นของประชาชนฝ่ายต่างๆ มานำ เสนอเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาระบบราชการ