Thursday, October 23, 2008

หลักสูตรสอบผู้อำนวยการสำนักงานเขตฯ/รองฯผอ.เขตฯ

ภาค ก สอบข้อเขียน คะแนนเต็ม 100 คะแนน
1.ความสามารถด้านการวิเคราะห์การบริหารงานในหน้าที่
1.1สถานณ์การทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน
1.2 การปฏิรูปการศึกษาและการนำไปสู่การปฏิบัติ
1.3 การบริหารจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา เช่น การบริหารงบประมาณ การบริหารบุคคล การบริหารวิชาการ การบริหารทั่วไป และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
1.4 การประสาน ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ท้องถิ่นและหน่วยงานอื่น
2.ความสามารถด้านการวิเคราะห์กฏหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานและการนำไปใช้
2.1รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550
2.2พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2)พ.ศ.2545
2.3พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546
2.4พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
2.5พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2) พ.ศ.2551
2.6พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547
2.7 พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550
2.8พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
2.9พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
2.10พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540
ภาค ข การประเมินสมรรถนะทางการบริหารและความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 300 คะแนน)
1.การประเมินสมรรถนะทางการบริหาร (100 คะแนน)
1.1การบริหารคน
1.1.1 การปรับตัวและความยืดหยุ่น
1.1.2 ทักษะในการสื่อสาร
1.1.3 การประสานสัมพันธ์
1.2 ความรอบรู้ในการบริหาร
1.2.1การบริหารการเปลี่ยนแปลง
1.2.2การมีจิตมุ่งบริการ
1.2.3การวางแผนกลยุทธ์
1.3การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
1.3.1รับผิดชอบตรวจสอบได้
1.3.2การทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์
1.3.3การบริหารทรัพยากร
1.4การบริหารอย่างมืออาชีพ
1.4.1การตัดสินใจ
1.4.2การคิดเชิงกลยุทธ์
1.4.3ความเป็นผู้นำ
2.ความเหมาะสมกับตำแหน่ง (100 คะแนน)
2.1บุคลิกภาพและท่วงทีวาจา
2.2ปฏิภาณไหวพริบ
2.3เจตคติทางการบริหาร
2.4วุฒิภาวะ
ภาค ค .ประวัติ ผลงาน วิสัยทัศน์และแนวทางการพัฒนาเขตพื้นที่การศึกษา (100 คะแนน)
เขียนเป็นรูปเล่ม 5-10 หน้าและสัมภาษณ์

Saturday, October 18, 2008

เตรียมตัวสอบสัมภาษณ์รองผอ.เขตฯ

ผ่านการสอบเครียดๆมาแล้ว ในวันสัมภาษณ์ของรองฯผอ.เขตฯวันที่ 27 ตุลาคม 2551
เตรียมตัวอย่างไร?
ข้อควร
+ตัดแต่งทรงผม ให้ดูดีที่สุด เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด
+หาชุด-เสื้อผ้า-การแต่งกายที่เรียบร้อย สุภาพ ท่านชายควรสวมสูทครับ(ชุดสากลนิยม)ขัดใจตัวเองสัก 1 วัน หากไม่ชอบ (สูทก็ต้องครบสูท...เคยเห็นบางท่านไปสอบสัมภาษณ์สวมสูทแต่สวมรองเท้าผ้าใบสีดำ..ไม่มีเทคไทน์) สุภาพสตรี ควรละเอียด พิถีพิถันมากกว่า(อยู่แล้ว) แต่อย่าให้ออกแนวหวือหวามาก
+ควรหาเวลาอ่านข่าวเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในกระแสบ้าง ประมาณว่าพูดคุยกับกรรมการให้รู้เรื่อง(กรรมการบางท่านชอบถามความคิดเห็นเราในกระแสต่างๆที่เป็นปัจจุบัน)---เขาดูไหวพริบ
+มีเอกสารแนะนำตัว 2-3 ชุด ทำเอกสาร สวยงาม น่าอ่าน พร้อมวิสัยทัศน์
+ตอบคำถามให้อยู่ในประเด็น...ชัดเจน เด็ดขาด (แต่....นุ่มนวลชวนฟัง)ถ้าตอบแบบอึกอัก เอ่อ...อ่า.....ท่านเสียคะแนนแน่นอน
+อย่าลืม..ท่องวิสัยทัศน์ของตัวเองที่เขียนเสนอกรรมการสัมภาษณ์
+กรรมการหลายท่าน เห็นคะแนนสอบข้อเขียนเราแล้วพร้อมประวัติ..ที่เราเขียนในใบสมัครหรือเอกสารเสนอผลงาน อาจมีการทดสอบเราด้วยว่าเรามีความพร้อมแค่ไหน..จะถามข้อมูลตามที่เราเขียน..และเรามีโอกาสเพิ่มคะแนนในส่วนนี้.....อย่าลืม
+ท่านที่สูบบุหรี่ ตอนเข้าสัมภาษณ์..หาโอกาสดับกลิ่นบุหรี่ก่อน
+สีหน้าท่าทางไม่ควรเคร่งเครียดมาก ตอบคำถามตามธรรมชาติของตนเอง
+บุคลิกลักษณะท่าทางของท่านก่อนสอบสัมภาษณ์เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องตาต้องใจกรรมการ

ข้อที่ไม่ควร
-ชุดแต่งกาย ไม่ควรสวมเสื้อยืด ทับเสื้อสูทสำหรับสุภาพบุรุษ สุภาพสตรีหลีกเลี่ยงสวมกางเกงไม่ว่ากรณีใดๆ
-การแสดงความคิดเห็น ในเรื่องใดๆควรแสดงความคิดเห็น "กลางๆ"หลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์บุคคลอื่นโดยเฉพาะในทางลบ


Thursday, October 16, 2008

กฎกระทรวงการแบ่งส่วนราชการในสำนักงานเขตฯ

กฏกระทรวงการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖

หลักการ
กำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
เหตุผล
เนื่องจากมาตรา ๓๔ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ บัญญัติให้การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพ.ศ. ๒๕๔๖

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๓๔ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้
“สำนักงานเขต” หมายความว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในแต่ละเขตพื้นที่ การศึกษา
ข้อ ๒ การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขต ให้กำหนดตามแนวทางดังต่อไปนี้
(๑) สอดคล้องกับภารกิจหลักและรองรับการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ
(๒) มีความเป็นเอกภาพในทางการบริหารจัดการ มีความยืดหยุ่น และพร้อมต่อการปรับเปลี่ยน
(๓) มุ่งสัมฤทธิ์ผลตามภารกิจ ความคุ้มค่า ลดขั้นตอนการบริหาร เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารจัดการ
(๔) คำนึงถึงระดับ ประเภท ปริมาณและคุณภาพของสถานศึกษา ผู้รับบริการและความเหมาะสมด้านอื่น
ข้อ ๓ ให้สำนักงานเขตมีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) กลุ่มอำนวยการ
(๒) กลุ่มบริหารงานบุคคล
(๓) กลุ่มนโยบายและแผน
(๔) กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
(๕) กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
นอกจากส่วนราชการตาม (๑) ถึง (๕) แล้ว ในระยะเริ่มแรก สำนักงานเขตอาจ จัดตั้งกลุ่มส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา โดยให้ยุบเลิกภายในสามปีนับตั้งแต่มีการจัดตั้งส่วนราชการดังกล่าวด้วยก็ได้
ข้อ ๔ เพื่อให้การแบ่งส่วนราชการและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานเขตเหมาะสมกับภารกิจ ปริมาณ และคุณภาพการจัดการศึกษาในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานเขตอาจมีส่วนราชการสำหรับเขตพื้นที่การศึกษานั้นมากกว่าที่กำหนดไว้ในข้อ ๓ ก็ได้ ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในการจัดให้มีส่วนราชการตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาจเสนอให้แบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตเป็นศูนย์ หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากลุ่มก็ได้
ข้อ ๕ กลุ่ม ศูนย์ หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากลุ่ม
อาจแบ่งส่วนราชการเป็นกลุ่มงาน หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากลุ่มงาน
การแบ่งส่วนราชการเป็นกลุ่มงาน หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากลุ่มงานให้ทำเป็นประกาศสำนักงานเขต โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
ข้อ ๖ ในการระบุอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการไว้ในประกาศกระทรวงตาม มาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ให้ระบุอำนาจหน้าที่ของสำนักงานเขตโดยให้สำนักงานเขตมีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และ
มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทำนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา
ให้สอดคล้องกับนโยบาย มาตรฐานการศึกษา แผนการศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน
และความต้องการของท้องถิ่น
(๒) วิเคราะห์การจัดตั้งงบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไปของสถานศึกษา และหน่วยงานในเขตพื้นที่การศึกษา และแจ้งการจัดสรรงบประมาณที่ได้รับให้หน่วยงานข้างต้นรับทราบ รวมทั้งกำกับ ตรวจสอบ ติดตามการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานดังกล่าว
(๓) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถานศึกษาในเขต พื้นที่การศึกษา
(๔) กำกับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และในเขตพื้นที่ การศึกษา
(๕) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และรวบรวมข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๖) ประสานการระดมทรัพยากรด้านต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากรบุคคล เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการจัดและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๗) จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษา และประเมินผลสถานศึกษา
ในเขตพื้นที่การศึกษา
(๘) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบุคคล องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันอื่นที่จัดรูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา
(๙) ดำเนินการและประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการศึกษา
ในเขตพื้นที่การศึกษา
(๑๐) ประสาน ส่งเสริม การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน
ด้านการศึกษา
(๑๑) ประสานการปฏิบัติราชการทั่วไปกับองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในฐานะสำนักงานผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ
ในเขตพื้นที่การศึกษา
(๑๒) ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการภายในเขตพื้นที่การศึกษาที่มิได้ระบุให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานใดโดยเฉพาะ หรือปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้มอบหมาย
สำนักงานเขตอาจมีอำนาจหน้าที่นอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งก็ได้
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข้อ ๗ การระบุอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการภายในสำนักงานเขตให้พิจารณาตามความจำเป็นและความเหมาะสมโดยให้อยู่ในแนวทางที่กำหนดในข้อ ๒
ข้อ ๘ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาอันเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้
ให้ไว้ ณ วันที่ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖


(นายปองพล อดิเรกสาร)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ทดลองทำข้อสอบ

ตัวอย่างข้อสอบที่เคยออก พ.ร.บ.สภาครูฯ 2546
1 กรรมการโดยตำแหน่งในคณะกรรมการคุรุสภามีกี่คน...
ก .8
ข 9
ค 10
ง 7
2 การออกใบอนุญาตเป็นหน้าที่ของ..คณะกรรมการในข้อใด ......
ก กรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
ข กรรมการคุรุสภา
ค กรรมการ สกสค.
ง ประธานกรรมการ
3 คำว่า “ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์ “เป็น จรรยาบรรณของครูตามข้อใด ...
ก จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
ข จรรยาบรรณต่อตนเอง
ค จรรยาบรรณต่อสังคม
ง จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
4ผู้ใดแสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเองมีใบประกอบวิชาชีพมีโทษตามข้อใด
ก .จำคุกไม่เกิน3ปีปรับไม่เกินหกหมื่นหรือทั้งจำทั้งปรับ
ข จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ค จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ง ข้อ ก และ ค
5 สมาชิกสามัญต่างจากสมาชิกกิตติมศักดิ์อย่างไร .....
ก ไม่แตกต่างกัน
ข กิตติมศักดิ์เลือกตั้งกรรมการไม่ได้
ค สมาชิกแรกต้องจ่ายเงิน
ง สมาชิกกิตติมศักดิ์ต้องเคยเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษา
6.คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดตามข้อต่อไปนี้ทุกข้อ ยกเว้นข้อใด
ก ยกข้อกล่าวหา
ข ตักเตือน
ค ทำทัณฑ์บน
ง เพิกถอนใบอนุญาต
7.ผู้แต่งตั้งสมาชิกกิติมศักดิ์ คือ
ก คณะกรรมการคุรุสภา
ข คณะกรรมการ สกสค.
ค คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
ง คำตอบเป็นอย่างอื่น
8. 4.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการคุรุสภาซึ่ง ค.ร.ม.แต่งตั้งมีคุณสมบัติและความรู้ด้านต่างๆดังต่อไปนี้ทุกข้อ ยกเว้นข้อใด
ก การอาชีวศึกษา
ข มนุษยศาสตร์
ค กฎหมาย
ง รัฐศาสตร์
9.ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพควบคุม ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า...
ก 18 ปี
ข 20 ปี
ค 21 ปี
ง 22 ปี
10.มาตรฐานการปฏิบัติตน ให้กำหนดเป็นข้อบังคับว่าด้วยจรรยบรรณของวิชาชีพจำนวนกี่ข้อ
ก 4
ข 5
ค 6
ง 7
11.ผู้อำนวยการองค์การค้าคุรุสภาคนปัจจุบันคือใคร
ก จักรพรรดิ วะทา
ข บำเรอ ภานุวงศ์
ค ชูชาติ ทรัพย์มาก
ง เสริมศักดิ์ วิศาลานนท์
12.สมาชิกของคุรุสภามีสองประเภทตามข้อใด
ก สมาชิกสามัญ สมาชิกวิสามัญ
ข สมาชิกสามัญ สมาชิกกิตติมศักดิ์
ค สมาชิกวิสามัญ สมาชิกกิตติมศักดิ์
ง สมาชิกกิตติมศักดิ์ สมาชิกคุณวุฒิ
13.คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา มีกี่คน
ก 39 คน
ข 23 คน
ค 17 คน
ง 14 คน
14.ผู้อำนวยการโรงเรียนรับครูที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเข้ามาสอนในโรงเรียนมีโทษตามข้อใด
ก จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท
ข จำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ค จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท
ง จำคุกไม่ 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
KEY:
1-ก 2-ก 3-ก 4-ก 5-ข 6- 7- 8- 9-ข 10-ข 11-ข 12-ข 13-ข 14-ข